การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความท้าทายและโอกาส
โดยการส่งเสริมแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านการออกตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ซึ่งทำให้ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของกิจการ หรือ Weighted Average Cost of Capital (WACC) ของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนลดลงมาอยู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับผู้ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ขณะเดียวกันภาครัฐของไทยได้กำหนดมาตรการในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย และนโยบายเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม (Just Energy Transition: JET) ทำให้เกิดแรงจูงใจต่อนักลงทุนในการให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรวมถึงกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลาดทุนให้การตอบรับที่ดี สะท้อนจากการเติบโตของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ กลไกทางการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อมรูปแบบใหม่ อาทิ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) และ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ยังเป็นอีกเครื่องมือที่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ ขายคาร์บอนเครดิตจากการขอรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการดำเนินโครงการที่ผ่านการรับรองโดยหน่วยงานกลาง หรือ หน่วยงานเจ้าของกลไก (Scheme owner) ดังนั้น กลไกที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ข้างต้น ล้วนเป็นโอกาสที่ดีของบริษัท ที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
ดังนั้น กลไกที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ข้างต้น โดยเฉพาะการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Greenhouse Gas Emissions) ของทุกภาคส่วนถือเป็นอีกหนึ่งความท้าท้ายและเป็นโอกาสที่ดีของบริษัท ที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของประชาคมโลกที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เพิ่มสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงเป้าหมายของประเทศตามแผนการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Nationally Determined Contribution: NDC) ดังนั้น เพื่อการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว บริษัทจึงจัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการพลังงานและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ครอบคลุมการทำงานทั่วทั้งองค์กร สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-Related Financial Disclosures: TCFD) เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 (Net Zero GHG Emissions by 2050) ตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือ Science Based Target ซึ่งเป็นแนวทางสากลสำหรับภาคเอกชน โดยได้กำหนดเส้นทางแห่งความสำเร็จในการมุ่งสู่เป้าหมาย ดังนี้
การกำกับดูแลด้านจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทได้จัดทำนโยบายอนุรักษ์พลังงาน นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดเป้าหมายด้านการลดการใช้พลังงานขององค์กรที่ครอบคลุมทั้งอาคารสำนักงานและกระบวนการผลิต นอกจากนี้ บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในบริษัทซึ่งเป็นการผลักดันให้พนักงานคิดค้นนวัตกรรมด้านการลดการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกับการเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน อีกทั้ง เพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกำกับดูแลด้านจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน และขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนความยั่งยืน (Sustainable Development Steering Committee) ที่กำหนดทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ตามนโยบายและกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องตามมาตรฐาน และแนวโน้มต่าง ๆ ในระดับสากล มีการดำเนินงานและติดตามร่วมกับคณะทำงานจากทุกโรงไฟฟ้า โดยบริษัทได้กำหนดบทบาท หน้าที่ และตัวชี้วัดผลตอบแทนให้ผู้บริหารของแต่ละพื้นที่ปฏิบัติการโรงไฟฟ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท และผสานงานร่วมกับคณะทำงานสนับสนุนการเปิดเผยด้านความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability Supporting and Disclosure Working Team) ซึ่งภายใต้คณะทำงานสนับสนุนการเปิดเผยด้านความยั่งยืน ประกอบด้วยผู้นำความมุ่งมั่นทั้ง 5 ด้าน ได้แก่
- ผู้นำความมุ่งมั่นด้านการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ผู้นำความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
- ผู้นำความมุ่งมั่นด้านสิทธิมนุษยชน
- ผู้นำความมุ่งมั่นด้านการดูแลชุมชนและสังคม
- ผู้นำความมุ่งมั่นด้านความความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ
รวมถึงด้านการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีรายงานผลต่อกรรมการบริษัททุกไตรมาส รวมทั้ง มีแผนในการขยายขอบเขตการจัดการและการเปิดเผยข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-Related Financial Disclosures: TCFD)
โครงสร้างการกำกับดูแลด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทมีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และมีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ให้ได้มากกว่าร้อยละ 95 ภายในปี 2586 รวมทั้งการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการลดการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทได้ประยุกต์ใช้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainability Development Goals) หรือ SDGs อาทิเช่น เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ และเป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน อีกทั้งบริษัทยังได้ตอบสนองต่อผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 (COP 28) ในการรักษาระดับไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทได้จัดทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกปี โดยบริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการประเมินให้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจทั้งประเทศไทย และ สปป.ลาว จำแนกตามกรอบเวลาระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยหลังจากที่บริษัทได้ระบุและจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและโอกาสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว จึงนำไปรวมในขั้นการบริหารความเสี่ยงขององค์กร และดำเนินการจัดทำแผนบรรเทาผลกระทบขึ้นเพื่อรับมือทั้งความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk) และความเสี่ยงในการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk) ขึ้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้น โดยบริษัทได้แสดงความโปร่งใสในการประเมินความเสี่ยงและการกำหนดแนวทางการจัดการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD)
รายงานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosure : TCFD)
กลยุทธ์ด้านจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทได้จัดทำกลยุทธ์ด้านจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านกระบวนการประเมินตามมาตรฐานสากล และแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-Related Financial Disclosures: TCFD) นำมาซึ่งผลการประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการกำกับดูแลวางกลยุทธ์ และจัดทำแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการรับมือต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Energy management and Climate Change Roadmap) อย่างต่อเนื่อง
โดยบริษัทได้กำหนดแผนกลยุทธ์การดำเนินงานตามกรอบระยะเวลา 5 ปี (2565-2569) โดยมีการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593
บริษัทได้วางเส้นทางการเปลี่ยนผ่านพลังงานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนของกลุ่ม ซีเค พาวเวอร์ ด้วย 3 กลยุทธ์หลัก “ซี เค พี” ที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม (C – Clean Electricity ไฟฟ้าสะอาด) มิติสังคม (K – Kind Neighbor เพื่อนบ้านที่ดี) และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (P – Partnership for Life พันธมิตรที่ยั่งยืน) เพื่อส่งเสริมให้เราเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่ง ควบคู่กับการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในชุมชนและสังคม อีกทั้งสร้างความตระหนักและส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่สำคัญการมุ่งสร้าง DNA ของพนักงานให้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน ภายใต้ C – Clean Electricity ที่มีเป้าหมายร่วมที่สำคัญ คือ กลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน ที่บริษัทมุ่งเป็นกำลังขับเคลื่อนในการนำแผนการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินงานร่วมกัน "Together for Implementation" ยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามเจตนารมณ์ของประเทศไทยและประชาคมโลก ที่ปรากฏในความตกลงปารีสตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement) ที่ได้จํากัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้ภายใน 2 ศตวรรษนี้ โดยการดําเนินงานของบริษัทนับว่าเป็นส่วนช่วยในการบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
เป้าหมายด้านจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลการดำเนินงานด้านจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวชี้วัด | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | เป้าหมาย ปี 2566 |
ปี 2566 |
---|---|---|---|---|---|
ปริมาณการใช้พลังงานขององค์กร (MWh) |
2,041,213.70 | 2,074,139.55 | 2,112,045.00 | 2,113,371.85 | 2,108,270.85 |
การใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต (MWh/MWh) |
0.23 | 0.19 | 0.18 | 0.20 | 0.20 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขององค์กร (tCO2e) |
717,296.83 | 721,309.65 | 717,775.96 | 723,673.98 | 721,781.47 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขององค์กรในขอบเขตที่ 1 (tCO2e) |
713,447.64 | 716,049.77 | 715,530.79 | 721,469.18 | 719,930.32 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขององค์กรในขอบเขตที่ 2 (tCO2e) |
3,849.19 | 5,259.88 | 2,245.17 | 2,204.80 | 1,851.15 |
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรต่อหน่วยการผลิต (tCO2e/MWh) | 0.0810 | 0.0670 | 0.0613 | 0.0695 | 0.0693 |
ในปี 2566 บริษัทมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น 721,781.47 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 ที่ 719,930.32 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 2 ที่ 1,851.15 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีกว่าเป้าหมาย1,892.51 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งได้ประเมินอ้างอิงตาม The Greenhouse Gas Protocol และตามข้อกำหนดในการคำนวณและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) อีกทั้ง มีการทวนสอบโดยหน่วยงานอิสระภายนอกโดย บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด สามารถดูรายงานการทวนสอบได้ที่รายงาน Assurance Statement
-
ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)
ในปี 2565 บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด (XPCL) ออกตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มูลค่า 8,349 ล้านบาท ภายใต้กรอบตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond Framework) ที่ได้ผ่านการสอบทานโดย Det Norske Veritas: DNV ในฐานะผู้สอบทานอิสระ (Independent External Reviewer) ซึ่งเป็นองค์กรรับรองมาตรฐานชั้นนำของโลก ที่ให้การรับรองตามมาตรฐาน Green Bond Principles 2021 และ ASEAN Green Bond Standards 2018
โดยการออกตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ยังได้รับรางวัล Best Green Bond Hydropower Plant Framework จาก International Finance Award ซึ่งจัดโดย International Finance Magazine นิตยสารทางธุรกิจและการเงินชั้นนำจากลอนดอน สหราชอาณาจักร ที่แสดงถึงการจำหน่ายหุ้นกู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำของบริษัทฯ ที่เป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล และ รางวัล Most Sustainable Hydro Power Company จาก The Global Economics Awards ในกลุ่ม The Utility & Energy Award Winners โดย The Global Economics เป็นนิตยสารการเงินชั้นนำของสหราชอาณาจักร ซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในมิติโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
-
กลไกราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing: ICP)
บริษัทได้ศึกษาการประยุกต์ใช้กลไกการกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing: ICP) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับกฎระเบียบของภาครัฐ และวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนส่วนเพิ่มของการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อกำหนดแผนและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
โครงการที่ดำเนินการเพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2566
บริษัทมีการจัดทำโครงการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึง 9 โครงการ ซึ่งเกิดจากการสังเกตและคิดค้นแนวทางใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหา และสามารถสร้างคุณประโยชน์ได้ โดยมุ่งเน้นการลดการสูญเสียพลังงานโดยรวมของโรงไฟฟ้า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานด้านการลดการใช้พลังงานและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งในกระบวนการผลิตและตามมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001: 2018 ด้วยการปรับปรุงระบบการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในบริษัททั้งทรัพยากรบุคคล รวมถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ จึงทำให้โครงการอนุรักษ์พลังงานของบริษัทไม่ก่อให้เกิดการใช้งบประมาณเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ภาพรวมผลการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานในปี 2566
ผลการดำเนินงาน
ชื่อโครงการ | ชนิดของพลังงานที่ลด | ลดการใช้พลังงานลง (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) | ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) | ลดต้นทุนด้านพลังงาน (บาทต่อปี) |
---|---|---|---|---|
1.โครงการประหยัดพลังงานภายในสำนักงาน | ไฟฟ้า | 15 | 7.47 | 119,520 |
2.โครงการใช้รถยนต์ Plug-In Hybrid Electric Vehicle ทดแทนรถยนต์สันดาปภายนใน (Internal Combustion Engine) | เชื้อเพลิง | 58 | 15.45 | 190,643 |
3.โครงการลดความดันของก๊าซเชื้อเพลิง (Lower Gas Pressure Better Heat Rate) | เชื้อเพลิง | 688 | 317.91 | 2,561,520 |
4.โครงการเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ากังหันไอน้ำ ระยะที่ 2 | เชื้อเพลิง | 1,422 | 657.21 | 5,295,432 |
5.โครงการหยุดพัดลมระบายความร้อนหอหล่อเย็นในช่วงเวลา 00:00-06:00 น. | เชื้อเพลิง | 94 | 43.52 | 350,648 |
6.โครงการ Cooling Tower Optimization | เชื้อเพลิง | 86 | 39.75 | 320,317 |
7.โครงการปรับปรุงระบบทำความสะอาดระบบอัดอากาศของกังหันก๊าซแบบออนไลน์ | เชื้อเพลิง | 1,839 | 847.37 | 6,827,649 |
8.โครงการลดการใช้พลังงานในเครื่องอัดก๊าซธรรมชาติ ช่วง OFFPEAK | เชื้อเพลิง | 261 | 120.53 | 971,128 |
9.โครงการรถยนต์พลังงานไฟฟ้า | เชื้อเพลิง | 638 | 1.75 | 2,333,664 |
โครงการที่โดดเด่นที่ได้ดำเนินงานในปี 2566
โครงการประหยัดพลังงานภายในสำนักงาน
บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญในการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้พนักงานทุกคนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว โดยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในสำนักงานน ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่าย ลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝัง จิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและรู้คุณค่า โดยโครงการ ประหยัดพลังงานภายในสำนักงานมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้กับพนักงาน ทุกท่าน และมีส่วนร่วมกับโครงการตามหลัก 4 ป. (ปิด ปรับ เปลี่ยน ปลด) ผ่านทางระบบ Intranet ของบริษัท การทำสติ๊กเกอร์ติดตามจุดที่มีการใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้สามารถลดการใช้ทรัพยากรไฟฟ้าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาคิดเป็นจำนวน 15 เมกะวัตต์-ชั่วโมง หรือคิดเป็นร้อยละ 6.79 และสามารถช่วยประหยัด ค่าใช้จ่ายได้ 119,520 บาท หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อคนลดลงจากปีที่ผ่านมาคิด เป็นนจำนวนคนละ 0.15 เมกะวัตต์-ชั่วโมง และสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย 1,200 บาทต่อคน
โครงการใช้รถยนต์ PHEV ทดแทน Internal Combustion Engine
บริษัทมีจุดมุ่งหมายในการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่สังคม คาร์บอนต่ำและบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ได้ภายในปี 2593 โดยทางสายงานบริหารได้วางเป้าหมายการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง โดยจะดำเนินการเปลี่ยนรถยนต์ในโรงไฟฟ้า รวมไปถึงรถยนต์ส่วนกลาง ทั้งหมด ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยของเสียจนทำให้มีผลกระทบ ต่อมลพิษทางอากาศ ภายในปี 2573 โดยเริ่มดำเนินการเปลี่ยนรถยนต์ ตั้งแต่ปี 2022 และยังคงดำเนินการเรื่อยมา จากเดิมจำนวนรถยนต์ที่ใช้ เชื้อเพลิงในการสันดาปมีจำนวนทั้งสิ้น 34 คัน โดยได้ดำเนินการเปลี่ยนเป็น รถยนต์ประเภท plug-in hybrid แล้วทั้งสิ้นจำนวน 7 คัน
โครงการลดความดันของก๊าซเชื้อเพลิง (Lower Gas Pressure Better Heat Rate)
โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น ได้พัฒนาระบบการผลิตไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการปรับลดแรงดันของเชื้อเพลิงเพื่อให้มีแรงดัน ที่เหมาะสมกับความต้องการของเครื่องจักร ทำให้เกิดการลดการใช้พลังงาน ของเครื่องอัดอากาศในการผลิตไฟฟ้า
โครงการเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ากังหัน ไอน้ำ ระยะที่ 2 (Steam Turbine Load Adjustment)
โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น ได้ปรับปรุงขีดจำกัดของกำลังการผลิต สูงสุดของเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ากังหันไอน้ำ (Steam Turbine) เพื่อสามารถ นำพลังงานไอน้ำที่เหลือทิ้งจาก Heat Recovery Steam Generators (HRSG) ไปผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ลูกค้าไอน้ำมีความต้องการต่ำ
โครงการหยุดพัดลมระบายความร้อนหอหล่อเย็น ในช่วง เวลา 00:00-06:00 น.
ในช่วง OFFPEAK เวลากลางคืน ที่โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น มีกำลังการผลิตต่ำทำให้ภาระทางความต้องของโรงไฟฟ้าน้อยกว่าความสามารถ ในการระบายความร้อนของหอหล่อเย็น ประกอบกับช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิ ต่ำ ทำให้หอหล่อเย็นสามารถระบายความร้อนได้ดี Operation Team จึง หยุดการทำงานของพัดลมของหอหล่อเย็นแต่ยังคงให้หอหล่อเย็นทำงานอยู่ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าของพัดลดดูดอากาศเข้าหอหล่อเย็นโดยเฝ้าระวังอุณหภูมิ ของน้ำหล่อเย็นไม่ให้สูงเกินค่าควบคุม
โครงการ Cooling Tower Optimization
โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น ได้ปรับปรุงระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยดำเนินการวิเคราะห์ความสามารถในการระบาย ความร้อนตามช่วงเวลาระหว่างวัน เพื่อบริหารและปรับค่าการทำงาน ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตราการใช้ พลังงานสำหรับอุปกรณ์ในระบบหล่อเย็นลดลง
โครงการทำความสะอาดแบบออนไลน์ (Online Water Wash Project)
โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น เป็นโรงไฟฟ้าที่มีการผลิตไฟฟ้าจาก กังหันก๊าซ (Gas Turbine) โดยมีกระบวนการอัดอากาศก่อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ เพื่อรักษาประสิทธิภาพของการอัดอากาศให้ดีอยู่เสมอ จะมีระบบ "Online Water Wash" เพื่อทำความสะอาดระบบการอัดอากาศโดยไม่ต้องหยุด การผลิต แต่ยังคงจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตเพื่อทำความสะอาด ทีมงาน จึงได้ปรับปรุงความถี่ในการทำความสะอาดให้เหมาะสมเพื่อลดความสูญเสีย จะการลดกำลังการผลิตในช่วงทำความสะอาด
โครงการลดการใช้พลังงานในเครื่องอัดก๊าซธรรมชาติช่วง OFFPEAK
ฝ่ายวิศวกรรมของโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น พบปัญหาการสูญเสียพลังงานจากการทำงานของเครื่องอัดก๊าซธรรมชาติในช่วง OFFPEAK ที่เกิดขึ้นเมื่อแรงดันที่ออกจากเครื่องอัดมากเกินความจำเป็นและทำให้ระบบวาล์วส่งก๊าซกลับเข้าลูกสูบทำงานโดยฝ่ายวิศวกรรมของโรงไฟฟ้าได้ศึกษาและปรับปรุงระบบวาล์วก๊าซเข้าลูกสูบเพื่อลดแรงดันของก๊าซหลังออกจากลูกสูบส่งผลให้ ระบบวาล์วส่งก๊าซกลับไม่ถูกเปิดออก
โครงการรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
เปลี่ยนผ่านการใช้พลังงาน โดยเปลี่ยนจากรถยนต์ดีเซล เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ที่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ในปี 2566 ได้ดำเนินการเปลี่ยน รถยนต์ส่วนกลาง จำนวน 1 คัน สำหรับรับ-ส่ง พนักงานภายในโรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้าสามล้อ จำนวน 2 คัน สำหรับงานแม่บ้าน
โครงการและกลยุทธ์ของ CKPower แสดงถึงความมุ่งมั่นอย่างจริงจังในการจัดการพลังงานและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินการต่างๆ เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน, การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน, และการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเสริมสร้างการดำเนินงานที่ยั่งยืนในทุกๆ ด้าน มุ่งมั่นสู่การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนที่แท้จริง