การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
ความท้าทายและโอกาส
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทมีวิสัยทัศน์จะมุ่งเน้นที่การลงทุนหลักในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งนับเป็นสัดส่วนกำลังการผลิต 93% ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม รวมถึงแสดงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าของบริษัท แม้ว่าทางบริษัทจากมีโรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น ที่ผลิตไฟฟ้าควบคู่กับการผลิตไอน้ำ โดยมีการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง บริษัทได้มีการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ และมุ่งมั่นพัฒนาส่งเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เพื่อลดการเกิดมลภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และนำไปสู่การพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกับชุมชนและสังคม โดยการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและมุ่งสู่มาตรฐานสากล และพยายามถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ สู่พนักงานรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กรต่อไป
แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท
01 มุ่งเน้นการลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน
02 บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
03 พัฒนาองค์กรความรู้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและมุ่งมั่นสู่มาตรฐานสากล
04 สร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาและการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในชุมชน
บริษัทได้จัดทำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม แนวปฎิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อย่างเคร่งครัดภายในโรงไฟฟ้าทุกแห่งของบริษัท ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนรอบโรงไฟฟ้าไปพร้อม ๆ กัน และโรงไฟฟ้าได้การรับรองมาตรฐานสากลด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 อีกทั้งโรงไฟฟ้าทุกแห่งของบริษัทได้รับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การบรรเทาและป้องกันการเกิดผลกระทบ และการเยียวยาแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น ทุกโรงไฟฟ้าของบริษัทได้รับความเห็นชอบให้สามารถดำเนินกิจการจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง และบริษัทได้รายงานผลการดำเนินงานตามที่ได้ระบุไว้ในมาตรการป้องกันแก้ไขสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2566 บริษัทได้ผ่านการทวนสอบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องปริมาณการดึงน้ำ ปริมาณการใช้น้ำ ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกภายนอก ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น และปริมาณการปล่อยมลพิษทางอากาศ จากหน่วยงานอิสระภายนอก
รายงานการให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระ
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายระยะยาว
เป้าหมายระยะสั้น
การดำเนินงาน
บริษัทตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจการผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนโดยบริษัทมุ่งเน้นการลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะน้อยและใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น ยิ่งไปกว่านั้นทางบริษัทยังให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างธุรกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม
บริษัทมีความมุ่งมั่นที่ปฎิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่มีส่วนร่วมกับชุมชน และผู้มีส่ว่นได้เสีย อย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทได้มีการจัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ดำเนินการในการรับฟังความคิดเห็นในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามด้านสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและตัวแทนจากชุมชนเพื่อสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท
การดำเนินงานจนถึงปี 2566 บริษัทและบริษัทในเครือไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมจากชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าและผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ได้รับการจัดการ รวมทั้งไม่มีการละเมิดกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด และไม่มีเงินค่าปรับเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 |
---|---|---|---|---|
จำนวนข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม (กรณี) | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว (กรณี) | 0 | 0 | 0 | 0 |
การละเมิดกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (กรณี) | 0 | 0 | 0 | 0 |
เงินค่าปรับเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (บาท) | 0 | 0 | 0 | 0 |
เงินค่าปรับเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะต้องเสียภายในสิ้นปี (บาท) | 0 | 0 | 0 | 0 |
การจัดการทรัพยากรน้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อกระบวนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำของบริษัท โดยกว่าร้อยละ 90 ของการผลิตไฟฟ้าของบริษัทมีสัดส่วนมากจากพลังงานน้ำ ดังนั้นบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสร้างความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเฝ้าระวังแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ การมุ่งเน้นการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าทั้งในสำนักงานและกระบวนการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการน้ำ ความรับผิดชอบต่อการใช้น้ำตลอดการผลิตโดยมีการควบคุมคุณภาพน้ำที่ปล่อยออกของทุกอาคารและพื้นที่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
กระบวนการติดตามสถานการณ์น้ำ
บริษัทได้ประเมินความเสี่ยงทางด้านทรัพยากรน้ำ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของพื้นที่กระบวนการผลิตแต่ละโรงไฟฟ้าอยู่เป็นประจำ โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำโดยใช้เครื่องมือ AQUEDUCT Water Risk Atlas พัฒนาโดยสถาบันทรัพยากรโลก World Resources Institute (WRI) เพื่อประเมินพื้นที่ที่มีความตึงเครียดด้านน้ำอย่างเป็นประจำทุกปี อีกทั้งบริษัทยังกำหนดมาตรการและผลักดันให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีทรัพยากรน้ำเพียงพอต่อการดำเนินงานของบริษัท พร้อมทั้งศึกษาผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนในพื้นที่และมีการดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นในการอนุรักษ์น้ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อกำหนดมาตรการวิธีป้องกัน และบรรเทาผลกระทบร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
- โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจึงมีแหล่งน้ำจากระบบการประปาของนิคมอุตสาหกรรมและมีบริษัท TTW จ่ายน้ำให้โรงไฟฟ้าตามสัญญาและรับผิดชอบในการบำบัดน้ำก่อนปล่อยออก โดยน้ำที่ปล่อยออกมีการนำมาหมุนเวียนภายในนิคมอุตสาหกรรม บริษัทได้กำหนดคุณภาพของน้ำปล่อยออกให้มีคุณภาพตามข้อกำหนดทางกฎหมายและมาตรฐานคุณภาพน้ำของการนิคมอุตสาหกรรม
- โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ใช้น้ำจากแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน เพื่อการอุปโภคและบริโภคของพนักงาน และหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ภายในโรงไฟฟ้าก่อนปล่อยออก และมีการควบคุมคุณภาพของน้ำปล่อยออกให้มีคุณภาพตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
- โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ใช้น้ำจากแหล่งน้ำระบบประปา จากแหล่งน้ำผิวดินหมุนเวียนใช้ประโยชน์ภายในโรงไฟฟ้า และมีการควบคุมคุณภาพของน้ำปล่อยออกให้มีคุณภาพตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
ผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ
ตัวชี้วัด | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | เป้าหมายปี 2566 | ปี 2566 |
---|---|---|---|---|---|
ปริมาณน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดก่อนทิ้ง | 100% | 100% | 100% | 100% | 100% |
ปริมาณการดึงน้ำทั้งหมด (ล้านลิตร) | 1,910.00 | 1,722.86 | 10,621.26 | 8,535.62 | 8,512.74 |
ปริมาณการดึงน้ำต่อหน่วยการผลิต (ลิตร/MWh) | ND | 159.94 | 907.46 | 819.76 | 817.56 |
หมายเหตุ: บริษัทได้เริ่มขยายขอบเขตการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดด้านน้ำให้ครอบคลุมโรงไฟฟ้าไชยะบุรี โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 และสำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งแต่ ปี 2565
บริษัทสามารถลดปริมาณการดึงน้ำทั้งหมดได้ 22.88 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับเป้าหมาย หรือเท่ากับการลดปริมาณการดึงน้ำต่อหน่วยการผลิต 2.20 ลิตรต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง
โครงการปรับเปลี่ยนค่าควบคุม Chloride ของหอหล่อเย็น เป็นหนึ่งในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและลดการสูญเสีย โดยการนำน้ำก่อนปล่อยออกกลับมาใช้ประโยชน์ การดำเนินงานในปี 2566 ช่วยลดปริมาณน้ำทิ้งจากระบบหอหล่อเย็นและลดปริมาณน้ำที่เติมเข้าสู่ระบบมากกว่า 28,006 ลูกบาศก์เมตร หรือ 28 ล้านลิตร รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 1.8 ล้านบาท/ปี
การจัดการของเสีย
บริษัทตระหนักถึงผลกระทบทั้งในทางตรงและทางอ้อมที่สามารถเกิดขึ้นจาก การจัดการของเสียทั่วไป และของเสียอันตรายที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น บริษัทจึงมุ่งมั่นในการลดการเกิดของเสียตั้งแต่ต้นทาง ผ่านระเบียบปฏิบัติสำหรับการจัดการขยะ และของเสียที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัททั้งในส่วนสำนักงานและโรงไฟฟ้าทุกแห่ง เพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณการใช้ทรัพยากรและของเสียจะลดลงจากนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และจัดการของเสียปลายทางอย่างถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางการจัดการของเสียประเภทต่าง ๆ และมีวิธีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางการจัดการของเสียประเภทต่าง ๆ รวมถึงตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมีการอบรมให้ความรู้พนักงานในการบริหารจัดการขยะให้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ผลการดำเนินงานด้านการจัดการของเสีย
ตัวชี้วัด | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | เป้าหมาย ปี 2566 | ปี 2566 |
---|---|---|---|---|---|
ปริมาณขยะและของเสียอันตรายทั้งหมด (เมตริกตัน) | 8.80 | 16.75 | 15.62 | 25 | 24.09 |
ปริมาณขยะและของเสียอันตรายต่อหน่วยการผลิต (kg/MWh) | 0.0010 | 0.0016 | 0.0013 | 0.0024 | 0.0023 |
ปริมาณขยะและของเสียไม่อันตรายทั้งหมด (เมตริกตัน) | 87.16 | 94.93 | 120.5311 | 120 | 119.4924 |
ปริมาณขยะและของเสียไม่อันตรายต่อหน่วยการผลิต (kg/MWh) | 0.00985 | 0.00881 | 0.01030 | 0.01152 | 0.01148 |
ปริมาณขยะและของเสียทั้งหมด (เมตริกตัน) | 95.96 | 111.68 | 136.16 | 145 | 143.58 |
ปริมาณขยะและของเสียทั้งหมดต่อหน่วยการผลิต (kg/MWh) | 0.0108 | 0.0104 | 0.0116 | 0.0139 | 0.0138 |
หมายเหตุ: บริษัทได้ขยายขอบเขตการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดด้านขยะให้ครอบคลุมสำนักงานใหญ่ของบริษัทในปี 2565 เป็นปีแรก และในปี 2566 ทางโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 มีกิจกรรม Major Overhaul ช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566
โดยปริมาณขยะอันตรายและของเสียอันตรายที่ส่งไปฝังกลบภายนอกลดลง 0.10 เมตริกตัน จากปี 2565 และมีปริมาณขยะและของเสียที่ผ่านกระบวนการ reuse และ/หรือ recycle เท่ากับ 12.77 เมตริกตัน ในปี 2566
บริษัทจัดทำโครงการถังขยะแยกประเภท เพื่อคัดแยกขยะภายในสำนักงานให้ถูกประเภท รวมถึงสามารถนำขยะแต่ละประเภทเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล/กำจัดอย่างถูกวิธี และนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยดำเนินการจัดทำถังขยะแยกประเภทวางบริเวณจุดต่าง ๆ ภายในสำนักงาน แบ่งประเภทขยะไว้ 6 ประเภท คือ
และทำการบันทึกน้ำหนักขยะแต่ละประเภทเพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบการลดปริมาณขยะในอนาคต รวมถึงและทำการบันทึกน้ำหนักขยะแต่ละประเภทเพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบการลดปริมาณขยะในอนาคต รวมถึงปลูกฝังให้พนักงานรู้จักการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งนี้ ได้มีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของประเภท การคัดแยกขยะที่ถูกต้องให้กับพนักงานและผู้บริหาร โดยการจัดกิจกรรมอบรม เรื่อง "ทิ้งขยะให้ถูกถัง เพิ่มพลังรักษ์โลก" พร้อมทั้งได้มีการเผยแพร่เอกสารอบรมผ่านทาง Mobile Application: CKPower Academyโดยในปี 2566 พนักงานสามารถแยกขยะและนำไปสู่การจัดการกำจัดขยะที่ถูกวิธี รวมถึงสามารถนำขยะไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ต่อไป
บริษัทได้จัดทำโครงการ “Paper-X” เพื่อลดปริมาณขยะ และนำขยะประเภทกระดาษมารีไซเคิลและใช้ใหม่ให้เกิดคุณค่าสูงสุด มีเป้าหมายในการรวบรวมกระดาษที่ไม่ใช้แล้วเพื่อนำไป รีไซเคิล โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมคัดแยกกระดาษอย่างถูกวิธี ซึ่งโครงการนี้จะแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) กระดาษขาว
2) กระดาษลัง/กระดาษนํ้าตาล
3) กระดาษอื่น ๆ
เพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกระดาษอย่างถูกวิธี โดยนำไปผลิตเป็นกระดาษใหม่ ก่อนที่จะถูกนำไปแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งผลจากโครงการนี้ส่งผลให้พนักงานตระหนักรู้ถึงวิธีการแยกขยะประเภทกระดาษที่ไม่ได้ใช้งานแล้วได้อย่างถูกต้อง ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ และยังสามารถนำกระดาษใหม่ที่ผ่านการรีไซเคิลมาสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับนักเรียนที่อยู่ในบริเวณชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้า
การดำเนินการในปี 2566 บริษัทสามารถจัดส่งกระดาษที่ไม่ได้ใช้แล้วเข้ากระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีจำนวน 2,670 กิโลกรัมและสามารถนำกลับมาผลิตเป็นกระดาษใหม่ได้จำนวน 43 รีม เพื่อนำส่งมอบให้กับโรงเรียน สร้างโอกาสและสนับสนุนเพื่อเป็นอุปกรณ์การเรียนให้กับนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนโดยรอบโรงไฟฟ้า ได้แก่ โรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1
บริษัทได้จัดทำโครงการคิดก่อน Print เพื่อส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรตระหนักถึงความจำเป็นก่อนการใช้ทรัพยากร และเพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในการช่วยกันประหยัด การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยลดการพิมพ์เอกสารสีที่ไม่จำเป็น รวมถึงการปรับเปลี่ยนจากการใช้เอกสารซึ่งต้องพิมพ์ออกมาบนกระดาษ (hard copy) เป็นการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-documents) โดยในการดำเนินงานของทุกหน่วยงานต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบในการดำเนินงาน อาทิ มาตรฐานบัญชี เป็นต้น บริษัทรณรงค์ให้พนักงานทั้งองค์กรลดการพิมพ์เอกสารสีผ่านโครงการ “คิดก่อน Print” โดยได้ดำเนินการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ สู่การลงมือทำ โดยในปี 2566 ทางบริษัทสามารถลดการพิมพ์เอกสารสีได้ประมาณ 884 แผ่น เมื่อเทียบกับปริมาณการพิมพ์สีของปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายขององค์กรเป็นจำนวน 1,767 บาท
โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอ์เรชั่น ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงระบบฉีดน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพและพอเหมาะกับปริมาณความต้องการใช้ จึงทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันหล่อลื่นลดลงและลดปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดจากน้ำมันใช้แล้วอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 2566 โรงไฟฟ้าสามารถลดปริมาณใช้น้ำมันหล่อลื่นและของเสียอันตราย ประมาณ 2,508 ลิตร/ปี ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อน้ำมันหล่อลื่นและค่ากำจัดน้ำมันใช้แล้ว ประมาณ 272,094.3 บาท/ปี
บริษัทได้จัดทำโครงการ “ขวด แลก สุข” เพื่อส่งมอบขวดพลาสติกที่ใช้แล้วให้กับวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยขวดพลาสติกเหล่านี้จะเข้าสู่กระบวนการคัดแยกและรีไซเคิลเพื่อสร้างเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งจะใช้ในการผลิตผ้าบังสุกุล ผ้าไตรจีวร ผ้าห่มกันหนาว และผลิตภัณฑ์อื่นที่มีวัสดุผ้าใยสังเคราะห์ ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นการสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านในชุมชน โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายสินค้าภายในโครงการวัดจากแดง จะนำกลับไปเป็นค่าแรงให้กับชาวบ้านที่เข้ามาช่วยคัดแยกขยะ หรือใช้ทักษะตามความเชี่ยวชาญเพื่อผลิตสินค้ารีไซเคิล อีกทั้งยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและการสนับสนุนในการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในทางระยะยาว โดยการลดปริมาณขยะประเภทขวดน้ำพลาสติก และตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้พลาสติกอย่างถูกวิธีและคุ้มค่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างให้พนักงานเข้าใจถึงการเพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกหมุนเวียนกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างภาพลักษณ์อันดีให้กับบริษัทในการใส่ใจเรื่องการจัดการขยะ และสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีให้แก่พนักงาน
การดำเนินการปี 2566 บริษัทสามารถเก็บรวบรวมขวดพลาสติกประเภท PET ได้ 169.4 กิโลกรัม หรือเท่ากับขวดพลาสติก PET ทั้งหมด 6,267 ขวด เพื่อส่งมอบให้กับวัดจากแดงเป็นการสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จัดทำโครงการ “ผลิตวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินจากของเสียชีวภาพ” เพื่อนำของเสียอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ อาทิ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ จากการแยกขยะในโรงครัวและโรงอาหารพนักงานไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านกระบวนการย่อยสลายทางธรรมชาติจนออกมาเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินใช้ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวในบริเวณพื้นที่โครงการและที่พักอาศัยของพนักงาน เพื่อลดปริมาณการกำจัดของเสีย และนำของเสียไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เพื่อกำจัดของเสีย
โดยในปี 2566 บริษัทสามารถผลิตวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินได้จำนวน 15,474.81 กิโลกรัม สามารถลดปริมาณการกำจัดของเสียทั่วไปที่ 15.47 ตัน นอกจากนี้ พนักงานของโรงไฟฟ้ายังได้รับประโยชน์จากการบริโภคพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ รวมถึงสามารถลดค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบในการปรุงอาหารในโรงไฟฟ้าและในครัวเรือนของพนักงานอีกด้วย
การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการควบคุมปริมาณการปล่อยมลสารทางอากาศ
การผลิตไฟฟ้ากว่าร้อยละ 90 ของบริษัทได้มาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและไม่มีการปล่อยมลสารทางอากาศ อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่นเป็นโรงไฟฟ้าประเภทพลังความร้อนร่วม (Combined-Cycle Power Plant) ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณไนโตรเจนน้อยมาก โดยการเผาไหม้จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าอาจก่อให้เกิดไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เชิงความร้อน บริษัทได้ตระหนักถึงมลสารที่อาจเกิดเหล่านั้นจึงได้ดำเนินการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Dry Low NOx Burner (DLE) ควบคุมเชื้อเพลิงให้ผสมกับอากาศก่อนที่จะเข้าสู่การเผาไหม้ ช่วยให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้ลดลง สามารถลดออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ได้ประมาณร้อยละ 40-50 และยังสามารถลดการสูญเสียเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตไฟฟ้า เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
บริษัทได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ (Continuous Emission Monitor System: CEMs) เพื่อเฝ้าระวังและตรวจวัดคุณภาพอากาศที่บริเวณปล่องระบายอากาศ สามารถแสดงผลการตรวจวัดแบบต่อเนื่อง และสามารถประมวลผลได้อย่างทันที (Real-time) อีกทั้ง บริษัทได้เปิดเผยผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศในการรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างสม่ำเสมอปีละ 2 ครั้ง โดยในปี 2566 บริษัทสามารถควบคุมคุณภาพอากาศของโรงไฟฟ้าอยู่ในระดับที่ดีกว่าค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดทั้งหมด และมีการเปิดเผยรายงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring) สู่สาธารณะ ผ่านเว็บไซด์ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงานด้านการควบคุมปริมาณการปล่อยมลสารทางอากาศ
ตัวชี้วัด | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | เป้าหมายปี 2566 | ปี 2566 |
---|---|---|---|---|---|
ปริมาณการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) (เมตริกตัน) | 597.77 | 598.91 | 636.07 | 708.79 | 703.55 |
ปริมาณการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ต่อหน่วยการผลิต (kg/MWh) | 0.3691 | 0.3743 | 0.3990 | 0.4249 | 0.4217 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) (เมตริกตัน) | 17.26 | 24.40 | 34.19 | 38.28 | 37.99 |
ปริมาณการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์ต่อหน่วยการผลิต (kg/MWh) | 0.01070 | 0.01520 | 0.02580 | 0.02294 | 0.02277 |
ปริมาณการปล่อยฝุ่นละออง (Particulate Matter: PM) (เมตริกตัน) | 21.89 | 33.91 | 28.98 | 16.86 | 16.73 |
ปริมาณการปล่อยฝุ่นละอองต่อหน่วยการผลิต (kg/MWh) | 0.0135 | 0.0212 | 0.0182 | 0.0101 | 0.0100 |
หมายเหตุ: บริษัทมีการปล่อยมลสารทางอากาศ เฉพาะโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น เท่านั้น