การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
ความท้าทายและโอกาส
แนวทางดำเนินงาน
บริษัทมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากลที่ใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน มอบโอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพ และรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูง กำหนดแผนการสืบทอดตำแหน่ง โดยบริษัทมุ่งบริหารจัดการทรัพยากรใน 5 ด้าน ได้แก่
นโยบายการบริหารงานบุคคล
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
การดำเนินงาน
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
พนักงานที่มีศักยภาพเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กร อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวขององค์กรตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจไฟฟ้า ดังนั้น บริษัทจึงมีการกำหนดและวางแผนพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่เหมาะสมกับตำแหน่งทั้งองค์กร ให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวโน้มการขยายตัวทางธุรกิจของบริษัท โดยมีการทบทวนแผนการฝึกอบรมสำหรับพนักงานในแต่ละระดับเป็นประจำทุกปี และส่งเสริมให้พนักงานได้วางแผนการพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) เพื่อพัฒนาจุดแข็ง และสร้าง Productivity ให้เกิดขึ้น เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีการการติดตามผลการดำเนินงาน และการประเมินการทำงานของพนักงานเนื่องจากพนักงานที่มีศักยภาพเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการเติบโตของธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวขององค์กรตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้า ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของพนักงานทุกคนในแต่ละระดับ บริษัทจึงได้มีการประเมินการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวโน้มการขยายตัวทางธุรกิจของบริษัท มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่ประกอบด้วย ตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPI) การประเมินผลงาน (Performance Evaluation (PE)) การประเมินสมรรถนะ Competency Assessment (CA) และ เวลาการทำงาน (Time Attendant (TA) ซึ่งจะดำเนินการตามลำดับขั้นโดยหัวหน้างานโดยตรงเป็นผู้ประเมินพนักงานแต่ละคน โดยประเมินจากเกณฑ์ที่ถูกระบุอยู่ในเป้าหมายแต่ละเป้าหมาย ซึ่งกำหนดโดยการตกลงระหว่างหัวหน้างานและพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจ
ทั้งนี้ บริษัทจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานและศักยภาพของพนักงานทุกคน
นอกจากนี้ บริษัทยังมีเครื่องมือในการพัฒนาพนักงานเพื่อ Upskill & Reskill ให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อให้พนักงานสามารถ เลือกและวางแผนการพัฒนาตนเองในแต่ละปีเพื่อสร้าง Productivity และมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านเครื่องมือ Individual Development Plan และการหา Competency Gap เพื่อพัฒนาพนักงานในระดับนั้น ๆ ให้มีความพร้อมอย่างสมบูรณ์แบบ และส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนี้
-
แผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคล (Individual Development Plan)
จัดทำขึ้นโดยพิจารณาจากสมรรถนะที่จำเป็น (Required Competency) ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะด้านตำแหน่งงาน และสมรรถนะด้านการเป็นผู้นำ ที่จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของงาน โดยบริษัทได้ดำเนินการวางแผนและจัดทำเส้นทางการพัฒนาและฝึกอบรมของบุคลากร (Training Roadmap and Training Plan) สำหรับพนักงานทุกระดับ โดยมุ่งส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาศักยภาพให้กับพนักงาน ผ่านการเพิ่มทักษะความรู้ในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายครอบคลุมทั้งหลักสูตรภายในประเทศและต่างประเทศ
โดยมีขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาดังต่อไปนี้
-
แผนพัฒนา Competency Gap
เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยค้นหาจุดที่พนักงานจำเป็นต้องพัฒนา สรุปสมรรถนะของพนักงานที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนา และทำให้หัวหน้างานได้มีโอกาสประเมินความสามารถของทีมในแต่ละตำแหน่งงาน ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการกำหนดหลักสูตรหรือแผนที่จำเป็นในการพัฒนาตามสมรรถนะของพนักงานที่ต้องที่ต้องการปรับปรุงต่อไป
-
ระบบ Share Drive ของสายงาน
เพื่อแบ่งปัน (Knowledge Sharing) ถ่ายทอด และเผยแพร่เอกสารการฝึกอบรม
โปรแกรมฝึกอบรมพนักงาน
บริษัทมีการพัฒนาศักยภาพพนักงานโดยมีการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยได้กำหนดหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพนักงานทั้งหลักสูตรภายในและภายนอก เพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรในการเป็นผู้นำทางด้านการผลิตไฟฟ้าจากทรัพยากรที่ยั่งยืน และเพื่อเสริมสร้างความรู้แล้วทักษะที่จำเป็นต่อการจ้างงานของพนักงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานให้มีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและโอกาสทางสายอาชีพ อีกทั้งสามารถดึงองค์ความรู้และประสบการณ์ถ่ายทอดต่อให้กับพนักงานระดับปฏิบัติงานได้ โดยแบ่งประเภทหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับพนักงานและตำแหน่งงาน
รายละเอียดหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพนักงานมีดังต่อไปนี้
หลักสูตรภายใน
ในปัจจุบันบริษัทมีหลักสูตรภายใน จำนวน 121 หลักสูตร แบ่งเป็น หมวด soft skill/ Functional training/ leadership program ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงานภายใน สร้างความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนของการผลิตไฟฟ้า การบริหารงานต่างๆ อีกทั้งมีการดูแลพนักงานงานอย่างเหมาะสมและรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถให้ร่วมงานกับบริษัทได้ในระยะยาว มีการกำหนดแนวทางเพื่อมอบโอกาสการเจริญเติบโตในสายงานสำหรับพนักงานอย่างเหมาะสม อาทิ หลักสูตร NN2 Leadership Transformation, หลักสูตร Facilitate Effective Meeting, Knowledge Sharing ex. DISC & 7 Habits, หลักสูตรการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านสำนักงานโรงงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หลักสูตรความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า, หลักสูตรเครื่องมือตรวจวัด Power Purchase Agreement, หลักสูตร Plant shutdown planning and management, หลักสูตร Major maintenance service agreement (MMA), หลักสูตร Waste to Value และ หลักสูตรนวัตกรรมภายในโรงไฟฟ้าบางปะอินโคเจนเนอร์เรชั่น เป็นต้น
สำหรับพนักงานใหม่ (New Joiner)
ชื่อหลักสูตร |
ทักษะที่ได้รับ |
---|---|
Compulsory Course for New Joiner: Core Value | เข้าใจวัฒนธรรม และหลักปฏิบัติในการทำงานขององค์กร และช่วยให้ปรับตัวเข้ากับองค์กรได้ |
Compulsory Course for New Joiner: Kaizen | เข้าใจหลักการทำ Kaizen และสามารถนำไปปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
Safety Orientation for New Joiner | เข้าใจกฎข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัทที่พนักงานต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บและอันตราย |
สำหรับเพิ่มทักษะและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน (Soft Skill)
ชื่อหลักสูตร |
ทักษะที่ได้รับ |
---|---|
NN2 Leadership Transformation | จุดประกายความเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเพื่อ Transform ตัวเองและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องในองค์กร |
Facilitate Effective Meeting | เรียนรู้วิธีการจัดประชุม เข้าใจตั้งแต่วัตถุประสงค์ของการประชุมการบริหารเวลาในที่ประชุมให้ได้ผลลัทธ์ตามเป้าหมาย เสริมด้วยทักษะการถาม-ตอบระหว่างการประชุมให้ตรงประเด็น ผ่านเทคนิค MBTI ร่วมวิเคราะห์ลักษณะผู้ฟังที่แตกต่างกัน |
Find your Ikigai: สุขและสำเร็จสไตล์ญี่ปุ่น… | ค้นหา Ikigai (อิคิไก) คุณค่าของการมีชีวิตของตัวเองได้ |
Growth Mindset for Success | พัฒนาความคิดอย่างเติบโตและการมีมุมมองเชิงบวกที่จะช่วยให้เราทํางานและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
High Impact Communication | สื่อสารได้อย่าง ชัดเจน ตรงประเด็น ตลอดจนโน้มน้าวผู้ฟัง ให้เกิดความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ |
Presentation as Pro | ใช้เครื่องมือต่างๆในโปรแกรม PowerPoint มาออกแบบสไลด์การนำเสนอให้ดูน่าสนใจได้ |
7 Habits | สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ลึกไปถึงแก่นภายในตัวตนของแต่ละคนด้วย 7 อุปนิสัย |
เคล็ดไม่ลับกับ CANVA | เรียนรู้การออกแบบ Infographic และวิดิโอ ง่ายๆ ด้วยตนเองผ่าน CANVA |
สำหรับพนักงานที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน (Functional Training)
ชื่อหลักสูตร |
ทักษะที่ได้รับ |
---|---|
Problem Solving and Root Cause Analysis Technique | แก้ปัญหา เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถวิเคราะห์จนทราบถึงสาเหตุรากเหง้าของปัญหา |
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (PPA) | สร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและเงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า รวมถึงการควบคุมความเสี่ยงและการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ |
Advance TPM for Productivity Improvement | สร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท รวมไปถึงสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ |
Business English Email Writing for Procurement | มุ่งเน้นการปูพื้นฐานการเขียนอีเมลธุรกิจ โดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างมืออาชีพเฉพาะด้านงานจัดซื้อ-จัดจ้าง |
สำหรับพนักงานทุกคน
ชื่อหลักสูตร |
ทักษะที่ได้รับ |
---|---|
ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน | เข้าใจเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพื่อเคารพสิทธิของตัวเองและผู้อื่น และสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้ |
Risk on Personal Data Breaches (PDPA) | เห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ความเสี่ยงในการละเมิดกฎหมาย และวิธีการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว |
หลักสูตรภายนอก
บริษัทยังมีหลักสูตรภายนอก จำนวน 92 หลักสูตร แบ่งเป็น 3 หมวด soft skill/ Functional training/ leadership program บริษัทมีกลยุทธ์ในการจัดหมวดการพัฒนาบุคลากรตามกลุ่มสายงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ ของพนักงานให้มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับสายงานเฉพาะด้าน เน้นการฝึกอบรมภายนอกที่เสริมทักษะ คนทํางานแยกตามรายบุคคลและความเชี่ยวชาญ มีการกำหนดแนวทางเพื่อมอบโอกาสการเจริญเติบโตในสายงาน สําหรับพนักงานอย่างเหมาะสมสําหรับฝึกอบรมภายนอก
หมวด Soft Skill: หลักสูตร Leading At The Speed Of Trust Public Workshop, หลักสูตรเจาะประเด็นปัญหาการตรวจสอบสัญญาธุรกิจ หมวด Functional Training: หลักสูตร Energy Consumption Optimization หลักสูตรการผจญเพลิงขั้นสูงหลักสูตรกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับงานตรวจสอบภายใน หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ ก๊าซรรรมชาติ หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานประจําระบบบำบัดมลพิษอากาศ หลักสูตรการบริหารโครงการเชิงปฏิบัติ (Project Management in Practice) หลักสูตรแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสุดขั้วเพื่อระงับเหตุกาวะฉุกเฉิน จากสถานการ์ณที่มีความผันผวนขั้นรุนแรงของสภาพภูมิอากาศ
หมวด Leadership Program: YourNextU Program for Line Manager, Company Secretary Program (CSP) หลักสูตรโครงการพัฒนาวิชาชีพเลขานุการบริษัท หลักสูตร Sustainable Supply Chain Management หลักสูตร ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับรังสีผู้ปฏิบัติงานทางรังสี Infrared Research and Training Center หลักสูตร Operation Extensive PLC Programs with SIMATIC
สำหรับพนักงานที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน (Functional Training)
ชื่อหลักสูตร |
ทักษะที่ได้รับ |
---|---|
อบรม และทดสอบฝีมือเชื่อมตามมาตรฐาน ASME | สำหรับวิศวกรงานเชื่อม และผู้ตรวจสอบงานเชื่อม กฟผ. ที่ผ่านมาตรฐานการ เป็นผู้ควบคุมงาน และมีใบรับรองตามมาตรฐานงานเชื่อมสากล |
CompTIA Advanced Security Practitioner (CASP+) | เพื่อให้สามารถตรวจสอบความสามารถระดับสูงในด้านการจัดการความเสี่ยง การดำเนินงานและสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยขององค์กร การวิจัยและการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการบูรณาการการรักษาความปลอดภัยขององค์กร |
การบริหารความเสี่ยงกับการประกันภัย (Risk Management and Insurance) | ศึกษาถึงวัตถุประสงค์และแนวทางในการจัดการด้านการพิจารณารับประกันภัย การระบุ กับการประเมินความเสี่ยงภัย การกำหนดนโยบาย การวางแผน และการกำหนดกลยุทธ์ในการพิจารณารับประกันภัย การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย การวิเคราะห์ผลของการรับประกันภัย การตรวจสอบการพิจารณารับประกันภัย และการจัดการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความเป็นธรรม |
Infrared Training Certified Infrared Thermographer Level 1 | มีความรู้ ความชำนาญ ในการใช้กล้องส่องความร้อนชนิดอินฟราเรดได้อย่างถูกต้อง |
Fault Event Analysis in Power System | มีความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เพื่อแก้ไขและวางแผนป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าในอนาคต |
TIA Portal Simatic Programming 1 | จัดการความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบอัตโนมัติ SIMATIC S7 การกำหนดค่าและการกำหนดพารามิเตอร์ของฮาร์ดแวร์ และพื้นฐานของการเขียนโปรแกรม PLC |
Calibration of Industrial Instrument | เรียนรู้หลักการเบื้องต้น” ของงานสอบเทียบเครื่องมือวัดฯ ก่อนที่จะก้าวไปสู่การเรียนรู้ถึงวิธีการสำหรับการสอบเทียบเฉพาะสาขาของเครื่องมือวัดแต่ประเภทต่อไป |
Company Secretary Program (CSP) | ให้มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการในเรื่องต่างๆ เพื่อให้คณะกรรมการสามารถกำกับดูแลกิจการได้อย่างเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
Data Analyst Expression (DAX) for Power BI | สร้างผลลัพธ์ตามที่ต้องการด้วย DAX ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก ๆ กับการทำงานกับ Power BI เพื่อการคำนวณในขั้นสูง และนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน |
Fundamental of Vibration Analysis | เข้าใจหลักการ แนวคิด ประโยชน์ และสามารถวิเคราะห์ของการสั่นสะเทือนในงานบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์และกฎของการติดตามสภาพเครื่องจักรและสามารถประยุกต์ใช้ในงานจริงได้ |
Infrared Training Certified Infrared Thermographer Level 1 | ศึกษาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีด้านอินฟราเรดมาใช้ด้านการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและเครื่องกลในด้านการทดสอบแบบไม่ทำลาย (Non destructive testing) ตามมาตรฐานของ ASNT-SNT-TC-1A |
Professional Networking for Network Engineer | ออกแบบ การติดตั้ง และ แก้ไขปัญหาระบบเครือข่าย LAN ปฎิบัติ และพิสูจน์ทฤษฎีการทำงานด้วยเครื่องมือทาง Software |
SIMATIC S7-300 (Programming1) | เขียนโปรแกรม SIMATIC S7 เชื่อมต่อ PROFIBUS DP และการรวมไดรฟ์ เรียนรู้เกี่ยวกับ Totally Integrated Automation (TIA) และทําความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบแต่ละส่วน |
ผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการน้ำมัน | ปฏิบัติงานรถขนส่งน้ำมัน และป้องกันและระงับอัคคีภัยได้อย่างถูกต้อง |
การวิเคราะห์เหตุการณ์ฟอลต์ในระบบไฟฟ้า | วิเคราะห์ความบกพร่องในระบบไฟฟ้า ระบบป้องกัน และบันทึกข้อมูลฟอลต์ได้ |
CKP Academy Application
บริษัทได้จัดทำ CKP Academy Application เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาศักยภาพพนักงาน ที่เป็นแหล่งรวมความรู้ ทักษะ สร้างมุมมอง (Mindset) แนวโน้มใหม่ (Trend) และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนการเรียนรู้แบบ Lifelong Learning สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง (Self-initiated study) ผ่าน Virtual Training และ E-learning และส่งเสริมให้พนักงานได้วางแผนการพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan) เพื่อพัฒนาจุดแข็ง และสร้าง Productivity ให้เกิดขึ้น เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการจัดทำรูปแบบการใช้งานดังนี้
- Training Plan แผนการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง (Technical and Functional Skill) ประจำปีที่กำหนดขึ้นสำหรับพนักงานแต่ละคน
- Core Program แผนการฝึกอบรมหลักและว่าเป็นสำหรับพนักงานทุกคน อาทิ ค่านิยมหลักขององค์กร Kaizen พื้นฐานด้านความยั่งยืน หลักสิทธิมนุษยชน กฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) การอบรมและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัย ในการทำงาน
- Guideline แหล่งรวบรวมข้อแนะนำ และแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่จําเป็นของแต่ละสายงานภายในบริษัท
- New Joiner หลักสูตรภาคบังคับที่พนักงานใหม่ทุกคนต้องรู้ อาทิ ค่านิยม องค์กร Kaizen ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การจัดการของเสีย และความหลากหลายทางชีวภาพ
- E-Learning แหล่งรวมความรู้หลากหลายหลักสูตรที่สามารถเลือกเรียนเรื่องที่สนใจได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น Individual Development Plan รอบรู้เรื่องกฎหมาย Enterprise Risk Management ผู้นำการตัดสินในทีม เป็นต้น
- Tidbits เสริมความรู้ในหลากหลายด้าน ผ่านการอ่าน E-Book ที่คัดสรร แต่หนังสือ Best Seller โดยนําเฉพาะ Key Content มาย่อยให้เข้าใจ อ่านง่าย และนำไปต่อยอดกับการทํางาน หรือใช้ในชีวิตประจําวันได้ เช่น The Magic of Think เปลี่ยนยากเปลี่ยนง่ายด้วยการคิดบนกระดาษแผ่นเดียวได้สไตล์คนขี้เกียจ เป็นต้น
- Fun Language เมนูที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้พนักงานทั้ง CKPower Group ได้เรียนรู้ภาษาลาวและภาษาอื่น ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ จากพนักงานที่เป็นเจ้าของ ภาษานั้น ๆ และยังเป็นแหล่งรวบรวมคำศัพท์ภาษาลาวที่ใช้กับชีวิตประจําวัน คำศัพท์เทคนิคที่จําเป็นในการสื่อสารทั้งทางธุรกิจที่จําเป็น ตลอดจนได้เรียนรู้ วัฒนรรรมของคนลาว แนะนำสถานที่และความเป็นอยู่ต่างๆ ผ่านการนำเสนอ จากเจ้าของภาษานอกจากการเรียนรู้ภาษาลาวยังมีภาษาไทยประจำภาคอังกฤษ และอินเดีย ผ่านการสอนโดยพนักงานในบริษัทซึ่งเป็นเจ้าของภาษานั้นๆ เป็นการสร้างการเรียนรู้แบบใหม่ผ่านคลิปสั้นๆ เข้าใจง่าย
- Food for Thought แหล่งรวมความรู้ด้าน Mindset การบริหารงาน การทํางานร่วมกับผู้อื่น การตั้งเป้าหมาย และการสร้างทีมและการเข้าใจเพื่อนร่วมงานในแบบต่าง ๆ ตลอดจนแนวโน้มใหม่ ๆ ในรูปแบบที่กระชับ เข้าใจง่าย และน่าติดตามในรูปแบบ Micro Learning เช่น สามขั้นตอนเริ่มปีใหม่ให้สุดปัง Executive Presence คุณเป็นผู้จัดการหรือผู้นำ เป็นต้น
- Knowledge Sharing แหล่งรวมองค์ความรู้ต่างๆ จากแต่ละบริษัทในเครือ โดยพนักงานสามารถแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะเฉพาะด้าน และ ประสบการณ์ทํางานจริงของตัวเองในระบบได้ในรูปแบบ Virtual Class Face-to-Face หรือเอกสารดิจิทัล เช่น การวางแผนงานการเงินและภาษี การบริหารจัดการขยะภายใต้โครงการ Grow Green Hero นวัตกรรม Solar PV system ความรู้เชิงเทคนิคการติดตั้ง Solar Roof ความรู้นวัตกรรม การประหยัดพลังงานในโรงไฟฟ้า Waste Management เป็นต้น
- Internship โครงการพัฒนานักศึกษาฝึกงาน ได้เรียนรู้และรับประสบการณ์ จากการทํางานจริง เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการทํางานในอนาคต ปลูกฝังจิตสํานึก จรรยาบรรณในการทํางาน และความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น Internship Presentation Project และ Internship Interview เป็นต้น
โครงการ IDP Coaching Line Manager
โครงการแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลระดับหัวหน้างาน หรือ Individual Development Plan Coaching Line Manager เป็นโครงการที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในปี 2565 และพัฒนาต่อเนื่องมาในปี 2566 เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพ และค้นหา Gap ของผู้นำและทีม โดยใช้กระบวนการ Coaching Process เข้ามาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทีมให้ถูกจุด จากจุดแข็งและทักษะความถนัดในด้านนั้น ๆ เพื่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน (Productivity) และก่อให้เกิดการสร้างความผูกพัน (Engagement) ในทีมและต่อองค์กร โดยในปี 2565 คะแนนระดับความความผูกพันต่อองค์กรดีกว่าเป้าหมาย อีกทั้งทำให้ลดอัตราการลาออกของพนักงานอีกด้วย พร้อมการติดตามผล เพื่อสร้างให้แผนการพัฒนารายบุคคลเป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่องจนถึงปี 2566
โครงการพัฒนาศักยภาพพนักงาน YourNextU
หลักสูตรที่ช่วยเสริมความรู้ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาพนักงานในระดับ หัวหน้างาน (ใหม่) จากสถาบัน SEAC ที่นำหลักสูตร Leadership จากต่างประเทศเข้ามาให้ศึกษาในประเทศไทย โดยจะได้อบรมเทคนิคพื้นฐานของการ บริหารทีมงานเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารทีม เช่น Growth Mindset, Emotional Intelligence, Step in leader, E3: Empower, Engage เป็นต้น
โครงการ Team Building
โครงการสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานที่มีต่อองค์กร และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่ปฏิบัติงานที่ต่างสถานที่กันให้เกิดเป็นหนึ่งเดียว โดยนำเอาวัฒนธรรมองค์กร CAWTA Core Value หลักการ Kaizen และหลักสูตรจากโปรแกรม YourNextU อาทิ Outward Mindset และ Design Thinking concept หลักสูตร Growth Mindset และ High Impact Communication นำ Concept และหลักการมาปรับใช้จริง และเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการทำกิจกรรมให้เกิดผลลัพธ์ที่สามารถสร้างคุณค่า ร่วมกันระดมความคิดคิดค้นแนวทางการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นร่วมกัน ส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจ และความเชื่อมั่นแล้วไว้วางใจที่มีต่อผู้บริหารขององค์กร อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกล้าออกความคิดเห็นเมื่อพบการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และส่งเสริมการปฏิบัติงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล
ในการจัดทำโครงการครั้งนี้เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานภายใน ทำให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ปรึกษาภายนอกองค์กร คิดเป็นมูลค่า 450,000 บาท ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ช่วยสร้างความภูมิใจกับพนักงานที่มีส่วนร่วมในการคิดและร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และบรรยากาศการทำงานที่ดี โดยกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี 2565 โดยผลการประเมินความพึงพอใจในปี 2565 เท่ากับ 4.01 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ โดยในปี 2566 บริษัทได้ทำการประเมินความพึงพอใจของการจัดกิจกรรม Team Building ทั้งหมดในปีนี้เท่ากับ 4.56 และจะมีการประเมินการสร้างความผูกพันกับองค์กรชี้วัดได้จากผลการพนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรอีกครั้งในปี 2567 (ดำเนินการทุก 2 ปี)
การดูแลพนักงานเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงาน
การประเมินการทำงานของพนักงาน
ในแต่ละปี บริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานด้วยการดูผลดัชนีชี้วัดผลสำเร็จ (KPIs) โดยจะนำผลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับพนักงานในระดับเดียวกัน (Comparative Ranking) เพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทน ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร (CKP Performance Appraisal Manual) นอกจากนี้ บริษัทยังนำผลการประเมินการทำงานมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคล (Individual Development Plan)
สัดส่วนพนักงานที่ได้รับการประเมินการพัฒนาศักยภาพในปี 2566 | |
---|---|
ผู้บริหารระดับสูง | ร้อยละ 80 |
ผู้บริหารระดับกลาง | ร้อยละ 87.4 |
ผู้บริหารระดับต้น | ร้อยละ 96.12 |
พนักงานทั่วไป | ร้อยละ 93.6 |
หมายเหตุ: ข้อมูลดังกล่าวเป็นของปี 2566
แผนการสืบทอดตำแหน่ง
บริษัทตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการวางแผนการดำเนินงานของบริษัทและให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลอันเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินธุรกิจ จึงได้จัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง ตามนโยบายสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพภายในองค์กร เพื่อสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพเข้ามาทดแทนและปฏิบัติงานที่ทำให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรดำเนินได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน แผนการสืบทอดตำแหน่งพิจารณาแต่งตั้งทดแทนตำแหน่งที่มีความสำคัญในสายงานหลัก โดยทำการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการสืบทอดตำแหน่งทั้งในกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และตำแหน่งงานสำคัญที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ เพื่อสรรหาบุคคลสืบทอดตำแหน่งและทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
แนวปฏิบัติด้านแผนการสืบทอดตำแหน่ง
การดูแลพนักงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
สวัสดิการพนักงาน
บริษัทมอบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานให้กับพนักงานประจำและลูกจ้างตามที่ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการที่สำคัญของบริษัท (Significant Locations of Operation) ได้แก่ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ความคุ้มครองความทุพพลภาพ การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร แผนการเกษียณอายุ ทั้งนี้ บริษัทได้ระบุรายละเอียดสวัสดิการ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ รวมทั้งระบุรายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนการเลิกจ้างที่เป็นไปตามกฎหมายให้พนักงานได้รับทราบ ซึ่งมีผลบังคับใช้ครอบคลุมร้อยละ 100 ของพนักงานทั้งหมด
คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
บริษัทได้ระบุรายละเอียดสวัสดิการ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติรวมทั้งระบุรายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนการเลิกจ้างที่เป็นไปตามกฎหมายให้แพนักงานได้รับทราบซึ่งมีผลบังคับใช้ครอบคลุม 100% ของพนักงานทั้งหมด และมีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ หรือ คสส. สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2553) และหลักสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล โดยใน คสส. มีสมาชิกจำนวน 5 คน เป็นตัวแทนของพนักงานทั้งหมด ทำหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางการจัดสรรสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับพนักงานต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน รวมไปถึงตรวจสอบและควบคุมดูแลการจัดสรรสวัสดิการให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายแรงงาน ตลอดจนเป็นช่องทางที่บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีสิทธิเสรีภาพในการวมกลุ่ม และร่วมในการแสดงความคิดเห็น รับฟัง และเสนอแนะข้อที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดสวัสดิการผ่านช่องทางที่บริษัทกำหนดและเปิดเผยให้พนักงานรับทราบอย่างทั่วถึง
ชั่วโมงการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Working Hours)
บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานมีชั่วโมงการทำงานแบบยืดหยุ่น เพื่อรองรับความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้วยบทบาทและความรับผิดชอบที่เหมาะสม โดยพนักงานสามารถขออนุญาตกับหัวหน้างานและฝ่ายบุคคล ซึ่งพนักงานจะได้รับการประเมินการอนุมัติชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
การลาเพื่อดูแลครอบครัว
บริษัทกำหนดสิทธิ์การลาเพื่อให้พนักงานได้ดูแลบุคคลในครอบครัวประกอบด้วย คู่สมรส บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดาของคู่สมรส ปู่ ย่า ตา ยาย และพี่หรือน้อง ที่มีการเจ็บป่วยทางกายหรือเจ็บปวดทางใจ
ส่งเสริมการจ้างงานอย่างเท่าเทียม
บริษัทได้เปิดโอกาสในการทำงานให้กับกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตามความเหมาะสมของประเภทงาน มีการกำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการจ้างงาน การให้สิทธิสวัสดิการที่เท่าเทียมกับพนักงานทั่วไป เพื่อส่งเสริมคนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 บริษัทยังไม่มีพนักงานกลุ่มผู้ด้อยโอกาสแต่อย่างใด
ในปี 2566 บริษัทได้นำส่งเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้กับ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นจำนวนเงิน 119,720 บาท
การดำเนินการเพื่อสนับสนุนการทำงานของพนักงาน
บริษัทได้สนับสนุนให้พนักงานทำงานโดยมีความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้วยบทบาทและความรับผิดชอบที่เหมาะสม อาทิ การลาเพื่อดูแลครอบครัว เป็นต้น
ผลการดำเนินงานด้านการดูแลพนักงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในปี 2566
การสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กร
ค่านิยมองค์กร CAWTA Core Value
บริษัทมีค่านิยมองค์กร CAWTA (เข้าท่า) Core Value ที่ใช้เป็นหลักในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพนักงานทุกระดับในองค์กร และเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรผ่านการจัดกิจกรรมและการสื่อสารต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้พนักงานทุกคนมีหลักในการยึดถือและปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายในการทำงานไปในทิศทางเดียวกันและก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร
หลักการไคเซน (KAIZEN) เพื่อการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง
หัวใจปรัชญาของไคเซน คือ ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่ง “ทุกคน” จำเป็นต้องมีส่วนร่วม มีความมุ่งมั่น และมีความต่อเนื่องในการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง โดยมี 7 ขั้นตอน
- การให้พนักงานมีส่วนร่วม (Get Employees Involved)
- ค้นหาปัญหา (Find Problem)
- ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Create Solution)
- ทดสอบวิธีการแก้ปัญหา (Test Solution)
- วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Analyze the Result)
- เผยแพร่และสร้างมาตรฐาน (Standardize)
- ทำซ้ำ (Repeat)
บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมเสนอแนวคิดในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในองค์กร มีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยใช้แบบฟอร์มเสนอผลงานไคเซน (KAIZEN Sheet) ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถแจ้งรายละเอียดที่ตนเห็นว่าควรมีการพัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไข แนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุง เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการดำเนินงานของบุคลากร หรือกระบวนการปฏิบัติงานภายในองค์กร
การนำหลักการไคเซนมาใช้ภายในองค์กรทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร และยังส่งเสริมประสิทธิภาพปฏิบัติงาน ลดข้อจำกัดในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากร และก่อให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพการผลิตในระดับองค์กร นอกจากนี้ กระบวนการไคเซนยังทำให้พนักงานรู้สึกมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานของบริษัทไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรร่วมกันมองหาและปรับปรุงตนเองและส่วนรวมให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมอยู่เสมอ
ผลการดำเนินงานด้านการสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กรในปี 2566
บริษัทดำเนินงานด้านการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ผ่านกิจกรรมและการสื่อสารต่าง ๆ พร้อมทั้งมีกระบวนการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานผ่านองค์กรภายนอกเพื่อวัดผลการดำเนินงานทุก ๆ 2 ปี ภายหลังการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสื่อสารผลสำรวจให้พนักงานทั่วทั้งองค์กรรับทราบ และนำผลการประเมินไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงการดูแลพนักงานในด้านต่าง ๆ ผลการดำเนินงานด้านการสร้างความผูกพันต่อองค์กร
ผลการดำเนินงานด้านการสร้างความผูกพันต่อองค์กร
ผลการดำเนินงาน | 2561 | 2562 | 2653 | 2564 | 2565 | เป้าหมาย ปี 2565 | 2566 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กร (ร้อยละ) | 74 | n/a | n/a | n/a | 4.01 | 3.8 | n/a |
ระดับความพึงพอใจของพนักงาน (ช่วงคะแนน 1-5) | 3.87 | n/a | n/a | 4.46* | 3.88 | 3.8 | n/a |
หมายเหตุ: * ปี 2564 ผลสำรวจความพึงพอใจของพนักงานในการบริหารการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19
** ปี 2566 เป็นช่วงการดำเนินงานตามแผนการปรับปรุงการดูแลพนักงานที่นำผลการประเมินจากปี 2565มาใช้โดยมีการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานจากการจัดกิจกรรมปรับปรุงการการดูแลพนักงาน
โดยในปี 2565 บริษัทได้นำผลการประเมินไปจัดทำโครงการเพื่อปรับปรุงการดูแลพนักงาน ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานระหว่างปี 2565-2566 และจะดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานในปี 2567 ซึ่งอยู่ในช่วงการดำเนินการดังนี้
-
1. โครงการออกแบบและจัดทำ Career Roadmap
เป็นโครงการสร้างโอกาสในการเติบโตในสายอาชีพให้กับพนักงาน ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะการเลื่อน ตำแหน่งสูงขึ้นในสายงานปัจจุบันของพนักงาน โดยในบางสายงานอาจไม่มีตำแหน่งงานว่าง ในระยะเวลาที่พนักงานคาดหวัง แต่บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถที่จะขยายขอบเขตความรับผิดชอบ หรือ สามารถที่จะโอนย้ายไปทำงาน ในสายงานอื่นตามความสนใจและความพร้อมของพนักงาน โดยโครงการดังกล่าวยังช่วยให้พนักงานและหัวหน้างานได้มีส่วนร่วมพูดคุยทำความเข้าใจความคาดหวังในการเติบโตในสายอาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพสูงให้มีทางเลือก และโอกาสในการเติบโต รวมถึงได้พัฒนาทักษะและความสามารถเพื่อพร้อมสำหรับการเติบโต ของบริษัท
-
2. โครงการปรับปรุงการบริหารค่าตอบแทนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงาน
บริษัทได้เริ่มศึกษาและดำเนินปรับปรุงแนวทางในการกำหนดค่าจ้าง การปรับค่าจ้างประจำปี สำหรับพนักงานทั้งในภาพรวมขององค์กร และกลุ่มพนักงานที่มีการแข่งขันสูงในตลาดแรงงานปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานที่เป็น Key position ทั้งนี้ยังได้นำข้อมูลเปรียบเทียบจากตลาดแรงงาน ในอุตสาหกรรมเดียวกันมาออกแบบแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนรวมถึงสวัสดิการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
-
3. โครงการปรับปรุงการสื่อสารที่เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
บริษัทได้นำข้อเสนอแนะจากพนักงานจากผลการสำรวจความผูกพันต่อองค์กรมาปรับปรุงการสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงานให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดในการประเมินผลรายบุคคล มาตรฐานเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน และความเชื่อมโยงของ ผลการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานกับการปรับอัตราค่าจ้างประจำปีของพนักงาน เป็นต้น