อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ความท้าทายและโอกาส
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทมุ่งมั่นและตระหนักถึงความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการดำเนินธุรกิจในการกำกับดูแลควบคุมกระบวนการ ทำงานของพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เป็นไป ตามมาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน เพื่อป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและโรคที่เกิดจากการทำงาน ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยทั่วทั้งองค์กร มุ่งมั่นที่จะเป็น องค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยในเชิงรุก และให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยทั้งในพื้นที่การดำเนินงาน (Operation Safety) และความปลอดภัยของบุคคล (Personal Safety) ที่ครอบคลุมทั้ง บุคลากรและผู้รับเหมาทั้งหมดโดยใช้บริษัทมีระบบการจัดการอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยของบริษัท (Occupational Health and Safety Management System) ที่สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทและเทียบเคียงกับมาตรฐานด้าน ความปลอดภัยฯ ในระดับสากล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกคนที่ร่วมงานกับบริษัท ทำงานด้วยความปลอดภัย ตลอดจนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและผลกระทบ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม
จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจด้านสภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงาน
ดูเนื้อหาเพิ่มเติม:
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน และการส่งเสริมและป้องกันความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน ผู้รับเหมาและคู่ค้าได้ที่
นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อ่านเพิ่มเติมจรรยาบรรณ การดำเนินธุรกิจด้านสภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงาน
อ่านเพิ่มเติมจรรยาบรรณคู่ค้า
อ่านเพิ่มเติมการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
ผลการดำเนินงานปี 2566
เป้าหมายและดัชนีวัดผลการดำเนินงานขององค์กร
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงานปี 2566 |
---|---|
0 กรณีจำนวนการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงาน และผู้รับเหมา | 0 กรณี จำนวนการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงาน และผู้รับเหมา |
0 กรณีจำนวนเหตุการณ์การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน | 0 กรณี จำนวนเหตุการณ์การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน |
0 กรณี / 1,000,000 ชั่วโมงอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานของพนักงาน | 0 กรณี / 1,000,000 ชั่วโมงอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานของพนักงาน |
การดำเนินงาน
บริษัทมีหน่วยงานความปลอดภัยเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และได้กำหนดให้หน่วยงานความปลอดภัยของแต่ละโรงไฟฟ้ามีการตั้งเป้าหมายเชิงปริมาณ ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินผลการดำเนินงานของพนักงานในหน่วยงานความปลอดภัยอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาความปลอดภัยอาชีวอนามัยของบริษัทอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ เป้าหมายเชิงปริมาณดังกล่าวยังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย อาทิ การรับรองมาตรฐานการดูแลสุขภาวะและความปลอดภัยของพนักงาน และการบันทึกสถิติข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในที่ทำงาน
บริษัทมีระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัท (Occupational Health and Safety Management System) ที่ถูกกำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของโรงไฟฟ้าทั้งในไทยและของ สปป.ลาว ที่โรงไฟฟ้าของบริษัทตั้งอยู่ อาทิ กฎหมายแรงงาน กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ กฎหมายการจัดการสารเคมี กฎหมายในการควบคุมและป้องกันเหตุเพลิงไหม้ กฎหมายควบคุมยาเสพติด กฎหมายด้านสุขอนามัย การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยในสถานที่ก่อสร้าง กฎหมายควบคุมการจราจร ข้อตกลงว่าด้วยการจัดการสารเคมี กฎหมายมาตรฐานเสียงในอุตสาหกรรม พระราชกฤษฎีกาสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน กฎหมายการควบคุมการก่อสร้าง พระราชกฤษฎีกาการไฟฟ้า กฎหมายด้านการขนส่ง นโยบายการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และพระราชกฤษฎีกาความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น รวมทั้งบริษัทยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากลของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018
ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทครอบคลุมผู้ปฏิบัติงานทุกคนทั้งพนักงานและผู้รับเหมา โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานในทุกกิจกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทุกพื้นที่ปฏิบัติงานของทุกไฟฟ้า โดยในปี 2565 มีการดำเนินการที่ได้รับการตรวจสอบจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร คิดเป็น 100% โดยมีรายละเอียดดังตารางด้านล่าง
บริษัท | ขอบเขตของระบบการจัดการสุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | ผ่านการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายในองค์กร | ผ่านการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกองค์กร | |
---|---|---|---|---|
CKP | พนักงาน | 152 คน | 152 คน | 152 คน |
ผู้รับเหมา | 183 คน | 183 คน | 183 คน | |
XPCL | พนักงาน | 192 คน | 192 คน | 192 คน |
ผู้รับเหมา | 487 คน | 487 คน | 487 คน | |
NN2 | พนักงาน | 56 คน | 56 คน | 56 คน |
ผู้รับเหมา | 241 คน | 241 คน | 241 คน | |
BIC | พนักงาน | 59 คน | 59 คน | 59 คน |
ผู้รับเหมา | 548 คน | 548 คน | 548 คน | |
BKC | พนักงาน | 49 คน | 49 คน | 49 คน |
ผู้รับเหมา | 360 คน | 360 คน | 360 คน | |
Total | พนักงาน | 508 คน | 508 คน | 508 คน |
ผู้รับเหมา | 1,819 คน | 1,819 คน | 1,819 คน |
หมายเหตุ: สถิติในปี 2566
บริษัทได้กำหนดให้หน่วยงานความปลอดภัยจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนการบ่งชี้อันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นภายใต้เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis : JSA)
พนักงานของหน่วยงานด้านความปลอดภัยจำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยอย่างสม่ำเสมอ และต้องนำผลที่ได้จากการบ่งชี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยงมาแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้การบ่งชี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามมาตรฐาน และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
พนักงาน ผู้รับเหมา และชุมชนรอบโรงไฟฟ้าตามขอบเขตที่ดำเนินการได้ ที่ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการอบรมและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงการเข้ารายงานตัวและการตระเตรียมตนเองเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ ฉุกเฉินต่าง ๆ รวมไปถึงการร่วมซ้อมแผนฉุกเฉินร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะความเสี่ยงที่ได้รับการบ่งชี้อันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS Risk and Hazard Assessments) ซึ่งเป็นแนวทางในการลดความรุนแรงและความเสียหายของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นหลังการฝึกซ้อมเพื่อนำไปปรับปรุงในครั้งต่อไป โดยการซ้อมรับมือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ได้แก่
แผนการซ้อมเหตุฉุกเฉิน | ความถี่ในการฝึกซ้อม |
---|---|
1. การหนีไฟ | 4 ครั้ง/ปี |
2. การเผชิญเหตุกรณีสารเคมีรั่วไหล | 1 ครั้ง/ปี |
3. แผนรับมือฉุกเฉินกรณีน้ำหลาก (High Flow) | 1 ครั้ง/ปี |
4. แผนลิฟต์โดยสารขัดข้อง | 1 ครั้ง/ปี |
5. แผนฉุกเฉินกรณีหม้อไอน้ำระเบิด | 1 ครั้ง/ปี |
6. น้ำท่วม | 1 ครั้ง/ปี |
7. แผ่นดินไหว | 1 ครั้ง/ปี |
8. ดินถล่ม | 1 ครั้ง/ปี |
ช่องทางการแจ้งเหตุ
บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้รับเหมาแจ้งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุผ่านช่องทางต่าง ๆ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุการตรวจสอบและการดำเนินการแก้ไขที่เหมาะสมตามการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมา ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ผ่านช่องทางโทรศัพท์ และอีเมล
- ผู้จัดการโรงไฟฟ้าผ่านช่องทางโทรศัพท์ และอีเมล
- แบบฟอร์มออนไลน์ WE CARE CONVERSATION
- แบบฟอร์มการร้องเรียนและข้อเสนอเเนะ
โดยหลังจากที่ได้รับการแจ้งเหตุ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมและหาแนวทางพิจารณาแก้ไขร่วมกัน
ขั้นตอนการสอบสวนการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน
บริษัทดำเนินการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยการประเมินและจัดทำทะเบียนความเสี่ยงของกิจกรรมและการดำเนินงานทั้งหมด แล้วจึงคัดเลือกเฉพาะกิจกรรมที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางขึ้นไปในทะเบียนมาประชุมเพื่อหาแนวทางควบคุม ซึ่งจะพิจารณาตามหลักการจัดการความเสี่ยงหรือมาตรการควบคุม และนำเสนอแผนควบคุมหรือลดความเสี่ยงต่อผู้บริหารเพื่อขออนุมัติในการจัดทำตามแผนควบคุมความเสี่ยงต่อไป
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือที่เกิดอุบัติเหตุ บริษัทได้กำหนดแนวทางในการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย การจัดทำรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุและรายงานอุบัติเหตุ (Near Miss and Incident Report) โดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจะเป็นผู้จัดทำรายงานนี้และจัดส่งให้ผู้จัดการโรงไฟฟ้าเป็นผู้อนุมัติ โดยรายละเอียดจะมีการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงานและระบุถึงแนวทางแก้ไข ภายหลังจากที่บริษัทได้รับการแจ้งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รวมถึงสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุผ่านช่องทางต่าง ๆ บริษัทได้กำหนดขั้นตอนภายหลังการรับแจ้งเหตุ โดยสอบสวนการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยจากการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก โดยในปี 2566 มีเหตุที่ได้รับแจ้งทั้งหมด 3 เหตุการณ์
ทั้งนี้ บริษัทจะนำผลจากการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแก้ไขและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างจริงจัง และกำหนดมาตรการเพื่อพัฒนาให้สถานที่ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยในปี 2566 มีการแจ้งเหตุ จำนวน 3 เหตุการณ์ คิดเป็นเหตุการณ์ที่สามารถจัดการได้โดยแนวทางการจัดการที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน จำนวน 2 เหตุการณ์ และเป็นเหตุกาณ์ที่ต้องกำหนดมาตรการป้องกัน รวมถึงแนวทางการจัดการเพิ่มเติม จำนวน 1 เหตุการณ์ คือ
เหตุการณ์ | มาตรการ/แนวทางการจัดการ |
---|---|
ความเสี่ยงจากการพลัดตกที่สูง | เมื่อผู้ปฏิบัติต้องทำงานที่มีความเสี่ยงจากการพลัดตกจากที่สูง ซึ่งอาจส่งผลให้พนักงานได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน บริษัทได้มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย สำหรับการทำงานบนที่สูง เช่น เข็มขัดนิรภัย เชือกนิรภัย และอุปกรณ์ดูดซับแรงกระชาก เพื่อให้พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานบนที่สูง เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง การทำงานบนนั่งร้าน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย |
การเยียวยาพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
พนักงานสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานเพื่อเป็นการบรรเทาและเยียวยาพนักงานที่ประสบอุบัติเหตุ
การส่งเสริมสุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
บริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานซึ่งประกอบด้วย ผู้จัดการโรงไฟฟ้าเป็นประธาน ตัวแทนจากหน่วยงานเดินเครื่อง หน่วยงานซ่อมบำรุง หน่วยงานบริหาร หน่วยงานทรัพยากร หน่วยงานสิ่งแวดล้อม และมีหน่วยงานด้านความปลอดภัยทำหน้าที่เป็นเลขานุการ มีหน้าที่หลักในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดการสุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดตั้งบริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health Services) ที่จะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดระหว่างการทำงานของพนักงาน สื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน พัฒนาและเสนอโครงการการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และรับฟังข้อเสนอแนะจากพนักงานเพื่อพิจารณาและผลักดันข้อเสนอต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการบริษัท ที่สำคัญพนักงานสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทผ่านตัวแทนจากพนักงานที่ร่วมการประชุมของคณะกรรมการฯ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน รวมถึงเป็นช่องทางให้พนักงานสามารถสื่อสารโดยตรงกับคณะกรรมการบริษัทในการประชุมคณะกรรมการประจำปี
โครงการ | รายละเอียด |
---|---|
เกณฑ์ความปลอดภัยสำหรับการจัดจ้างผู้รับเหมา |
ระบุกฏเกณฑ์ด้านความปลอดภัยที่ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบกรณีรับเหมางานของหน่วยงาน ตัวชี้วัด สัดส่วนผู้รับเหมาที่ได้รับรู้เกณฑ์ความปลอดภัยสำหรับการจัดจ้างผู้รับเหมา |
การจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล |
จัดเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ประจําหน่วยงาน ตัวชี้วัด % ความพร้อมของเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล |
โครงการส่งเสริมสุขภาพ รณรงค์การออกกำลังกาย และสนับสนุนอุปกรณ์ออกกำลังกาย |
จัดโครงการให้หนักงานออกกำลังกาย โดยกำหนดทั้งประเภทบุคคลและทีม โดยมีห้องฟิตเนสให้พนักงาน ตัวชี้วัด จํานวนสัดส่วนของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ |
โครงการ "WE CARE" |
กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมใน การนำเสนอเรื่องความปลอดภัย โดยเริ่มจากการเขียนรายงานด้านความ ปลอดภัย เพื่อเป็นการเตือนเพื่อนร่วมงานถึงพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย เพื่อ ให้พนักงานมีความตระหนักถึงความปลอดภัย รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้ พนักงานมีพฤติกรรมความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ตัวชี้วัด จํานวนข้อเสนอแนะ WE CARE ของพนักงานจํานวน 2 ข้อเสนอแนะต่อปี คิดเป็น 100% ของจํานวนพนักงาน XPCL ที่ประจําอยู่โรงไฟฟ้าทั้งหมด |
โครงการ "Safety Toolbox meeting" |
กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้พนักงานที่ทางบริษัทฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยรวมไปถึงการแนะนำวิธีปฏิบัติงาน อย่างถูกต้องซึ่งทำให้พนักงานที่โรงไฟฟ้ามีความเข้าใจและมีความตระหนักถึง ความเสี่ยงและอันตรายซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุจากการทํางาน ตัวชี้วัด จํานวนพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรม Safety Toolbox Meeting ในแต่ละเดือน |
โครงการ | รายละเอียด | ความเสี่ยง | ผู้รับการอบรม | |
---|---|---|---|---|
พนักงาน | ผู้รับเหมา | |||
กิจกรรม Safety Toolbox Meeting | บริษัทให้ความสำคัญต่อการระบุภัยคุกคามหรือประเด็นความเสี่ยงที่อันตรายในทุกขั้นตอนของการทำงาน ครอบคลุมทุกกิจกรรมในการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมา ตลอดจนพัฒนาและต่อยอดโครงการด้านความปลอดภัย โดยบริษัทดำเนินการผ่านกิจกรรมการส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือทั่วทั้งองค์กรภายใต้กิจกรรม Safety Toolbox Meeting เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน โดยรูปแบบจะการนำเสนอเนื้อหาความรู้ด้านความปลอดภัย เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และแนะนำวิธีปฏิบัติงานให้ปลอดภัยทุกกิจกรรมและขั้นตอนในการทำงานในโรงไฟฟ้า | ความเสี่ยงทั่วไป | ||
โครงการ Safety Week 2023 | ในปี 2566 บริษัทได้จัดโครงการ Safety Week 2023 เฉลิมฉลองความสำเร็จ 2,000,000 ชั่วโมงการทำงาน (มาตรฐาน ANSI) โดยไม่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTI) นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้พนักงานมีความตระหนัก เสริมสร้างความรู้ ส่งเสริมทัศนคติที่ดีของพนักงานต่อระบบการทำงานภายใต้การควบคุมความปลอดภัย ผ่าน WE CARE Conversation และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยของบริษัท | ความเสี่ยงทั่วไป | - | |
การซ้อมแผนเผชิญเหตุกรณีสารเคมีรั่วไหล |
หลักสูตรการควบคุมการหกรั่วไหลของสารเคมีเป็นการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือทำงานที่อาจสัมผัสกับสารเคมี วัตถุอันตราย โดยหลักสูตรนี้มุ่งเน้นไปที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทีมฉุกเฉิน ทีมดับเพลิง และผู้ควบคุมสารเคมีที่ต้องการมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเหตุฉุกเฉินดังกล่าว เพื่อให้สามารถควบคุมอุบัติเหตุได้ผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2566 ไม่มีบันทึกการรั่วไหลของสารอันตรายตามที่กฎหมายกำหนดรวมถึงสารไม่อันตรายภายในสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่อเนื่องอื่น ๆ |
ความเสี่ยงเฉพาะทาง | - | |
การอบรมการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น | บริษัทให้ความสำคัญถึงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับปั่นจั่น จึงจัดอบรมให้แก่พนักงานซึ่งเป็นผู้บังคับปั่นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น เพื่อให้พนักงานที่ปฏิบัติงานดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจถึงความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่นเพิ่มศักยภาพในการทำงาน และลดการเกิดอุบัติเหตุรวมถึงความความสูญเสียรวมทั้งวางแผนป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานเกี่ยวกับปั่นจั่นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ | ความเสี่ยงเฉพาะทาง | - | |
การฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการจริงภาคสนามกรณีท่อก๊าซรั่วไหลติดไปในพื้นที่ที่กำหนด | บริษัทกำหนดให้พนักงานฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการจริงภาคสนาม ในกรณีท่อก๊าซรั่วไหลติดไปในพื้นที่ที่กำหนด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้พนักงานที่เป็นทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้เตรียมความพร้อมเพื่อตอบสนองกรณีท่อก๊าซรั่วไหลติดไปในพื้นที่ที่กำหนด โดยมีการบันทึกผลการฝึกซ้อมลงในรายงานผลการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินและการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในครั้งถัดไป | ความเสี่ยงเฉพาะทาง | - | |
การอบรมเทคนิคการผจญเพลิง | บริษัทได้กำหนดให้พนักงานที่อยู่ในทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ ได้เข้าอบรมเทคนิคการผจญเพลิง เพื่อให้พนักงานที่เข้ารับการอบรมมีความชำนาญด้านทักษะ เทคนิคการควบคุมระงับเหตุ และการใช้อุปกรณ์ควบคุมเพลิงไหม้ เพื่อให้พนักงานได้ทบทวนทักษะการผจญเพลิงและสามารถเข้าระงับเหตุ และควบคุมสถานการณ์ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ ในโรงไฟฟ้าได้ทันที | ความเสี่ยงเฉพาะทาง | - | |
ระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018 | บริษัทกำหนดให้พนักงานทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานกับระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018 ทราบถึงข้อกำหนด ที่มีการปรับเปลี่ยน และสิ่งที่มีผลกระทบต่อระบบการบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในปัจจุบัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำระบบ ISO 45001: 2018 | ความเสี่ยงทั่วไป | - | |
การอบรมการควบคุมประจำหม้อน้ำ | บริษัทได้กำหนดให้พนักงาน ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานควบคุมหม้อน้ำประจำโรงไฟฟ้า เข้าอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง อุปกรณ์ และส่วนควบคุมต่าง ๆ ของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ และมีความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมหม้อน้ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ | ความเสี่ยงเฉพาะทาง | - | |
การอบรมการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านความปลอดภัย | บริษัทได้ให้พนักงานอบรมการการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านความปลอดภัย เพื่อจัดทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านความปลอดภัยและจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในส่วนงานของตนเองทุกงานที่มีความเสี่ยงอันตรายพร้อมนำส่งที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดตามระบบมาตรฐานการจัดการอาขีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018 | ความเสี่ยงทั่วไป | ||
การอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (First Aid & CPR) | พนักงานทุกคนจะได้รับการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคือชีพจากแพทย์ประจำโรงไฟฟ้า เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์และมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ สามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น | ความเสี่ยงทั่วไป | - | |
การอบรมการตรวจประเมินภายในสำหรับ 3 ระบบ (9001: 2015, 14001: 2015, 45001: 2018) | บริษัทได้แต่งตั้งคณะทำงานการตรวจประเมินภายในสำหรับระบบมาตรฐานทั้ง 3 ระบบ ISO 9001: 2015, 14001:2015 และ 45001:2018 โดยคณะทำงานตรวจประเมินภายในจะได้รับการอบรมหลักสูตรสำหรับการตรวจประเมินภายใน 3 ระบบเพื่อให้มีความรู้และทราบถึงหลักการตรวจประเมินภายใน และจัดทำโปรแกรมตรวจประเมินในทุกโรงไฟฟ้า ติดตามและแก้ไข ตามข้อกำหนดระบบมาตรฐานทั้ง 3 ระบบ | ความเสี่ยงทั่วไป | - | |
โครงการรณรงค์สวมหมวกนิรภัย | บริษัทได้เล็งเห็นถึงความปลอดภัยในการเดินทางมาทำงานของพนักงานและผู้รับเหมา ซึ่งบางส่วนมีการเดินทางโดยจักรยานยนต์ กรณีที่เกิดอุบัติเหตุการสวมหมวกนิรภัยสามารถช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือความสูญเสียได้อย่างมาก โดยหลังจากนั้นได้ทำการสำรวจข้อมูลการสวมใส่หมวกนิรภัยของพนักงานและผู้รับเหมา พบว่าพนักงานที่ขับขี่รถจักรยานยนต์มาทำงานไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 34.80 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจึงได้จัดตั้ง “โครงการรณรงค์สวมหมวกนิรภัย” ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยหวังว่าจะเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์และเพื่อช่วยลดความรุนแรงขณะเกิดอุบัติเหตุทางการจราจรได้ โดยมีกิจกรรมการอบรมให้ความรู้และตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่ และจัดทำป้ายเตือน ซึ่งผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายโดยมีให้พนักงานและผู้รับเหมาร้อยละ 100 สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ในเดือนที่ 4 หลังจากเริ่มโครงการในปี 2564 จนถึงปัจจุบัน | ความเสี่ยงทั่วไป |
พร้อมกันนี้ บริษัทและบริษัทในเครือยังมุ่งเสริมสร้างความตระหนักถึงวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรแก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมของพนักงาน ผู้รับเหมา และคู่ค้าที่สำคัญผ่านกิจกรรม โครงการ และการอบรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “องค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุและปราศจากการบาดเจ็บ” โดยบริษัทกำหนดมาตรการสำหรับพนักงานใหม่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพก่อนการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์ และพร้อมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการป้องกันกรณีเกิดการระบาดของโรคที่มีการแพร่กระจาย
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มทุเลาลงแล้ว แต่บริษัทตระหนักและห่วงใยความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานอยู่เสมอ โดยมีการกำหนดมาตรการและนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดอย่างรอบด้าน ประกอบด้วยมาตรการการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อที่มีการแพร่กระจาย ได้แก่
ผลการดำเนินงาน
สถิติพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
บริษัทไม่เพียงแค่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของพนักงาน แต่ยังรวมไปถึงผู้รับเหมา และคู่ค้าของบริษัท โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการเป็น “องค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุและปราศจากการบาดเจ็บ” ดำเนินการการเก็บข้อมูลและตั้งเป้าหมายสถิติอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Loss Time Injury Frequency Rate: LTIFR) ให้เป็นศูนย์ ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานในองค์กร รวมทั้งเป็นดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงานบริษัท บริษัทกำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดังต่อไปนี้
ตัวชี้วัด | ผลการดำเนินงานปี 2566 | เป้าหมายปี 2566 | ||
---|---|---|---|---|
พนักงาน | ผู้รับเหมา | พนักงาน | ผู้รับเหมา | |
จำนวนผู้เสียชีวิตจากการทำงาน | 0 กรณี | 0 กรณี | 0 กรณี | |
จำนวนเหตุการณ์การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน | 0 กรณี | 1 กรณี | 0 กรณี | |
จำนวนเหตุการณ์การบาดเจ็บ | 1 กรณี | 2 กรณี | 0 กรณี | |
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน | 0 กรณี/1,000,000 ชั่วโมง | 0.85 กรณี/1,000,000 ชั่วโมง | 0 กรณี/1,000,000 ชั่วโมง |
ในปี 2566 พบสถิติอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของทั้งพนักงานและผู้รับเหมา (Lost-time injuries: LTI) เกิดขึ้นกับผู้รับเหมา 1 กรณี ในเดือนเมษายน เหตุการณ์คือ ผู้รับเหมาตกบันไดหลังกระแทกพื้น ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานเป็นเวลา 2 เดือน บริษัทให้การรักษาโดยการทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งผู้ได้รับบาดเจ็บเพื่อไปทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีการอพยพขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน medical evacuation อย่างไรก็ตาม บริษัท ได้มีการสืบสวน วิเคราะห์ถึงสาเหตุ กำหนดแนวทางการสื่อสารให้ถูกต้องและติดตั้งบันไดถาวรที่ Generator Pit ในแต่ละ Turbine Unit เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ รวมถึงจัดให้มีการประชุม เชิงปฏิบัติการกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางร่วมกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำและมีการสื่อสารขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ โดยกำหนดให้ผู้ควบคุมงานทำการประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์ความเสี่ยงในการทำงาน และทำการเปิดใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะอนุญาตให้ผู้รับเหมา เข้าเริ่มเข้าทำงาน และตลอดระยะเวลาการทำงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจะตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความปลอดภัยที่บริษัทฯ กำหนดจนงานดังกล่าวเสร็จสิ้น ผลดังกล่าวทำให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 เป็นต้นมา ไม่พบอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน และไม่มีอาการเจ็บป่วยหลักจากการทำงาน