การเคารพสิทธิมนุษยชน
ความท้าทายและโอกาส
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทได้กำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงว่าการดำเนินธุรกิจ เป็นไปด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ครอบคลุมธุรกิจของบริษัทและบริษัทในเครือ คู่ค้า ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ กิจการร่วมค้า ผู้ทรงสิทธิ (Rights Holders) และกลุ่มเปราะบาง (Vulnerable group)
กรณีหากเกิดการละเมิดหรือผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้ทรงสิทธิและกลุ่มเปราะบาง บริษัท จัดให้มีช่องทางการสื่อสารและการรับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มซีเค พาวเวอร์ รวมถึงมาตรการบรรเทา แก้ไข และเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
ด้วยความมุ่งมั่นสู่การเป็นองค์กรชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและ ยึดมั่นต่อการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมีการกำหนดให้ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญและมีการกำหนดไว้ในกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่กำหนดให้สอดคล้องตามหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Right: NAP Implementation) นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าร่วมกับข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC)
การตั้งเป้าหมาย
เป้าหมายระยะยาว
เป้าหมายระยะสั้น
บริษัทได้จัดทำกลยุทธ์เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ซึ่งประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนขององค์กร ในการมุ่งสู่การเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งทางตรงจากการดำเนินงานในกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท และทางอ้อมโดยการสนับสนุนและส่งเสริมคู่ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจให้ตระหนัก คุ้มครอง และเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ บริษัทมีการตั้งเป้าหมายเพื่อชี้วัดความสำเร็จทางด้านสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังประกาศใช้และดำเนินงานภายใต้นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานอย่างเท่าเทียมกันครอบคลุม 100% ของบริษัท บริษัทในเครือ คู่ค้าทางตรง (Tier 1 Suppliers) และพันธมิตรทางธุรกิจ รวมทั้งคำนึงถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง เพื่อการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนสอดคล้องกับกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ มาตรฐานสากลและข้อกำหนดสากลอื่นๆ
การดำเนินงาน
การพัฒนาและดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Roadmap)
บริษัทได้พัฒนาแผนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งมีกรอบระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2565 – 2569 เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน สามารถประเมินความเสี่ยงและลดโอกาสเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ในอนาคต
การดำเนินการงานปี 2566
- ดำเนินการเสริมสร้างความตระหนักด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างคุณค่า พัฒนา และต่อยอดโครงการต่าง ๆ โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมที่ยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า
- การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร คือ กลุ่มพนักงาน โดยจัดการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้กับพนักงานร้อยละ 100 โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายสิทธิมนุษยชน ให้ความรู้ที่มุ่งเน้นการเคารพสิทธิเป็นหลักพื้นฐาน และยอมรับความแตกต่างในองค์กรเพื่อการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืนภายใต้ความหลากหลาย
- การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
- กลุ่มคู่ค้า: ยกระดับกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน และยกระดับคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านแรงงาน สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี โดยบริษัทมีการให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าและการตระหนักรู้ และมีการสุ่มตรวจสอบแบบลงพื้นที่จริง ซึ่งพบว่า คู่ค้าไม่มีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ชุมชน: สร้างการมีส่วนร่วม และดำเนินโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าและสังคมโดยรวม โดยยึดหลักการเคารพในสิทธิพื้นฐาน และความมั่นคงทางอาชีพ
- ลูกค้า: ส่งมอบไฟฟ้าให้กับลูกค้าทุกรายได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินงานภายใต้ความความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของบริษัทและบริษัทในเครือ
- เข้าร่วมการประเมินรายงานความคืบหน้าภายใต้ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC)
- ตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและปรับปรุงมาตรการลดผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและตอบสนองด้านสิทธิมนุษยชน
กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
บริษัทจัดทำกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเป็นประจำทุก 3 ปี ตามหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) โดยมีหน่วยงานภายนอก (Third Party) เป็นผู้ตรวจสอบ ในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทครอบคลุมพื้นที่การดำเนินธุรกิจในบริษัททั้งหมดตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนสำคัญและผู้ถือครองสิทธิ์ (Rights holder) รวมถึงกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบครอบคลุมร้อยละ 100 ของธุรกิจของบริษัท โดยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังต่อไปนี้
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทครอบคลุมพื้นที่การดำเนินธุรกิจในบริษัททั้งหมดตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการในพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบุมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานของบริษัท ตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงการระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง การประเมินผลกระทบในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (Vulnerable Group) เช่น เด็ก กลุ่มชนพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ และการประเมินโอกาสที่อาจเกิดผลกระทบ โดยเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนดำเนินการโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบ ครอบคลุมสิทธิมนุษยชน ทั้ง 9 ประเด็น
ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน | ผู้ทรงสิทธิ (RIGHTS HOLDERS)* | มาตรการควบคุม | |||
---|---|---|---|---|---|
พนักงาน | คู่ค้าและ ผู้รับเหมา |
ลูกค้า | ชุมชน | ||
สภาพการทำงานของพนักงานและคู่ค้าของ CKP (Working Conditions) |
|
||||
สุขภาพและความปลอดภัย (Health & safety) |
|
||||
การเลือกปฏิบัติและการละเมิดต่อพนักงาน และคู่ค้าของ CKP (Discrimination and Harassment) |
|
||||
สิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม เพื่อปกป้องประโยชน์ของพนักงาน (Freedom of Association and Right to Collective Bargaining) |
|
||||
การใช้แรงงานผิดกฎหมาย (Illegal Forms of Labor (including Human Trafficking, Forced Labor, Child Labor)) |
|
||||
มาตรฐานการครองชีพในชุมชน (Standards of Living) |
|
||||
การได้มาซึ่งการเข้าถือสิทธิ์ในการถือครองที่ดินและการบังคับให้ตั้งถิ่นฐานใหม่ (Land Acquisition and Forced Re-settlement) |
|
||||
การข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า (Data Privacy) |
|
||||
การจัดการด้านความปลอดภัย (Security Management) |
|
*หมายเหตุ กลุ่มผู้ทรงสิทธิทุกกลุ่มประกอบด้วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้หญิง ผู้พิการ เด็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มชนพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัท กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)
บริษัทได้วางแผนดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านทุก ๆ 3 ปี โดยครั้งล่าสุดคือ ในปี 2564 ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน พบว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง มี 1 ประเด็น คือ สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ซึ่งเป็นประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนใน องค์กร โดยประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ในห่วงโซ่คุณค่าอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง และบริษัทสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้จากแนวทางการดำเนินงานในปัจจุบันของบริษัท
โดยผลการประเมินความเสี่ยงที่เหลืออยู่ (Residual Risks) หลังจากจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจของบริษัทสำหรับสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานที่อยู่ในระดับสูง บริษัทได้กำหนดมาตรการลดและควบคุมความเสี่ยง เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งในด้านโอกาสและความรุนแรง เช่น การเพิ่มกระบวนการด้านอาชีวนามัยและความปลอดภัย และการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่พนักงาน เป็นต้น อีกทั้งยังให้ความสำคัญในการติดตามประสิทธิผลของมาตรดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทมีประสิทธิภาพในการควบคุมผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่า
โดยฝ่ายบุคคลของบริษัทเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบงานทางด้านสิทธิมนุษยชนจะประสานกับหน่วยงานด้านความปลอดภัย และแจ้งประเด็นด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิในระดับสูง รวมถึงมาตรการที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อบรรเทาความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งหน่วยงานด้านความปลอดภัยจะต้องมีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการที่กำหนดขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัท
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment)
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ในระดับอุตสาหกรรม ประเทศ และพื้นที่การดำเนินธุรกิจที่สำคัญของบริษัท (Significant Location of Operation) และรวมทั้งประเมินคู่ค้าทางธุรกิจโดยครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบาง โดยมีการประเมินเป็นประจำทุก 3 ปี โดยฝ่ายบุคคลของบริษัทเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ การประเมินความเสี่ยงพิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดขึ้น (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบ (Severity) เพื่อระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน จัดทำแนวทางการป้องกัน รวมถึงกำหนดมาตรการในการควบคุมและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ทั้ง 9 ประเด็น นอกจากนี้บริษัททบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าและมาตรการควบคุมอย่างเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแผนงานและมาตรการบรรเทา แก้ไข และเยียวยามีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อเป้าหมายการดำเนินงาน
แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยาด้านสิทธิมนุษยชน
การรับข้อร้องเรียนและช่องทางการร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทได้จัดทำช่องทางการสื่อสารและการรับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มซีเค พาวเวอร์ เพื่อให้สามารถรายงานหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อกังวล หรือข้อเสนอแนะ ผู้ร้องเรียนจะได้รับการคุ้มครองภายใต้มาตรการปกป้องผู้แจ้งเบาะแส โดยบริษัทจัดให้มีกระบวนการและแนวทางในการบริหารจัดการข้อร้องเรียนอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งมีมาตรการบรรเทา แก้ไข และเยียวยาในกรณีที่เกิดผลกระทบขึ้นแก่ผู้ร้องทุกข์อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางที่บริษัทกำหนด ได้แก่
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
เป้าหมายและผลการดำเนินงานขององค์กร
โครงการหรือกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่
ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา บริษัทได้เพิ่มเนื้อหาด้านสิทธิมนุษยชนและนโยบายสิทธิมนุษยชนในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานเกิดความตระหนักรู้ ตั้งแต่ก้าวเข้ามาทำงานที่บริษัทในวันแรก ว่า CKPower ให้ความสำคัญเรื่องการเคารพ สิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลเป็นอย่างมาก การปฐมนิเทศเรื่องสิทธิมนุษยชนจัดทำผ่านระบบ VDO Conference และดำเนินโครงการเพื่อให้พนักงานในทุกพื้นที่การทำงานสามารถเข้ารับการปฐมนิเทศผ่าน Mobile Application
การปฏิบัติด้านแรงงาน
บุคลากรเป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่สำคัญ ส่งผลให้องค์กรสามารถดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด บริษัทจึงมุ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ผ่านแนวทางการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร ที่มีความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน เชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด ศาสนา ความเชื่อ เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ สถานะทางสังคม หรือสถานะอื่นใดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ตลอดจนการไม่ใช้แรงงานบังคับและแรงงานเด็กทั้งการจ้างงานโดยตรงหรือภายในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท พร้อมกันนี้ บริษัทกำหนดให้มีนโยบายการพิจารณาค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเหมาะสม โดยพิจารณาจากความสามารถและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน รวมถึง มีการจัดสรรสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่พนักงานที่เท่าเทียมและมีศักยภาพเมื่อเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน
การอบรมสื่อสารหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชน
เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทจึงจัดให้มีการสื่อสารผ่านหลากหลายช่องทาง ได้แก่ การประชมทางไกลผ่านระบบ Microsoft Team และ Mobile Application และจัดอบรม ที่ครอบคลุมพนักงานทั้งหมดในทุกระดับชั้น
การดำเนินการตรวจประเมิน สร้างความเข้าใจ และการตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่คู่ค้า
บริษัทได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่คู่ค้า เพื่อเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะป้องกันไม่ให้มีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยบริษัทได้ดำเนินการผนวกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนไว้ในการตรวจประเมินความเสี่ยงคู่ค้า และมีการสุ่มตรวจสอบคู่ค้า Onsite Audit เป็นประจำทุกปี
การสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่ชุมชน
บริษัทได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า และเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถแสดงคิดเห็นอย่างเท่าเทียมในการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนร่วมกับบริษัท ตลอดจนความเสี่ยงและผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในชุมชนเป็นประจำทุกปี
โครงการเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนอย่างเท่าเทียม
บริษัทดำเนินการออกแบบและจัดสร้างอาคารเรียน โรงเรียนอนุบาลหินหัวเสือ แขวงไซสมบูน สปป.ลาว จากหลักการออกแบบอย่างเท่าเทียม (Universal Design) เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียน การศึกษา เพิ่มพื้นที่ทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย รองรับทั้งเด็กนักเรียนชายและหญิง รวมถึงผู้พิการ เป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาของ สปป.ลาว นอกจากนี้ยังจัดทำระบบน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค ด้วยการติดตั้งระบบปั๊มน้ำบาดาลจากพลังงานแสงอาทิตย์ และติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่ม ทำให้คุณภาพน้ำสำหรับบริโภคเป็นไปตามมาตรฐานน้ำดื่ม สปป.ลาว และองค์การอนามัยโลก