การดูแลสังคมและชุมชน
ความท้าทายและโอกาส
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทได้กำหนดนโยบายการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน และแนวปฏิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติการดำเนินธุรกิจของบริษัทควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมกับชุมชนและกิจกรรมเพื่อสังคม โดยมีคณะทำงานด้านความยั่งยืน ที่รับผิดชอบให้มีการนำนโยบายและแนวปฏิบัติไปกำหนดตัวชี้วัด แนวปฏิบัติ แผนงานที่สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goal: UN SDGs) อย่างเป็นรูปธรรม มีการติดตาม ประเมิน และทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน
นโยบายการมีส่วนรวมและการพัฒนาชุมชน
แนวปฏิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
การโยกย้ายถิ่นฐานของประชาชน
บริษัทมุ่งรับผิดชอบต่อชุมชมและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบกว่า 663 ครัวเรือน ซึ่งเดิมอาศัยอยู่ริมสองฝั่งของแม่น้ำโขง โดยได้โยกย้ายถิ่นฐานของประชาชน (Resettlement & Relocation) พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตตามแผนการโยกย้ายและฟื้นฟูความเป็นอยู่ให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งสนับสนุนและพัฒนาหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่กระจายตัวและตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้กลายมาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไฟฟ้า น้ำประปา และเส้นทางคมนาคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในด้านอุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง นำไปสู่การมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยต่อเนื่องถึงปี 2566 บริษัทได้มุ่งไปสู่เป้าหมายให้ทุกชุมชนมีรายได้ครัวเรือนต่อปีตามข้อกำหนดของรัฐบาล สปป.ลาว คือ ต้องไม่น้อยกว่า 1,800 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ 15 ล้านกีบต่อครัวเรือนต่อปี
การประเมินผลกระทบและการมีส่วนร่วมกับชุมชน
บริษัทให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส ครอบคลุมชุมชนในพื้นที่การดำเนินงาน 100 % ตั้งแต่ก่อนเข้าดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า และในช่วงดำเนินการผลิตไฟฟ้า โดยบริษัทได้มีการลงพื้นที่เพื่อดำเนินการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ตามวิถีดั้งเดิม และคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าทั้งในมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการสำรวจความคิดเห็นของชุมชนทั้งปัญหา/ความต้องการ/ศักยภาพของชุมชน ความพึงพอใจ และการร่วมระบุประเด็นผลกระทบร่วมกับชุมชน โดยผลการสำรวจจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหามาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบ และหาแนวทางการแก้ไขและเยียวยาได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งในการริเริ่มกิจกรรม/โครงการเพื่อสังคมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของชุมชนที่จะสามารถดำเนินการบูรณาการให้สอดคล้องกับขีดความสามารถด้านวิศวกรรมพลังงานสู่การสร้างคุณค่าทางสังคม ซึ่งหากผลการสำรวจความคิดเห็นชุมชนไม่พบปัญหาจากการดำเนินงานของบริษัทต่อชุมชนใกล้เคียง บริษัทได้จัดให้มีกระบวนการดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งบริษัทจะมีการลงพื้นที่สานเสวนาชุมชนเพื่อติดตามตรวจสอบสภาพชุมชนและสังคมที่อาจได้รับผลกระทบทางลบจากการดำเนินงานของบริษัท รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของชุมชนทั้งปัญหา ความต้องการ ความพึงพอใจ และการร่วมระบุประเด็นผลกระทบร่วมกับชุมชน สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO 26000 และ มาตรฐาน CSR – DIW และการจัดทำกระบวนการรับฟังข้อร้องเรียนจากชุมชนซึ่งจะถูกการตรวจสอบบันทึกและได้รับการตอบสนองโดยอย่างทันท่วงทีสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO14001
หมายเหตุ: * แสดงถึงผลกระทบต่อชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อมูลเพิ่มเติม : รายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
กลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการดูแลชุมชนและสังคม
บริษัทมุ่งเน้นการนำขีดความสามารถของธุรกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างบริษัท พนักงาน และชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ในปี 2565 บริษัทได้กำหนดกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการดูแลสังคมและชุมชน ที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน และใช้ขีดความสามารถด้านวิศวกรรมพลังงานสะอาดมาเติมเต็มชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) และสร้างประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้ ซึ่งกลยุทธ์ด้านการดูแลสังคมและชุมชนยังได้ครอบคลุมถึงการพัฒนานวัตกรรมที่จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับชุมชนได้ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และได้มีการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนด้านการดูแลสังคมและชุมชนระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2565 – 2569 โดยหนึ่งในเป้าหมายหลักเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการดูแลสังคมและชุมชนคือการจัดทำแกนหลักการดูแลชุมชนและสังคม 3 ประการ ได้แก่
- คุณภาพชีวิต: เพิ่มการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: การอนุรักษ์ ปกป้อง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- ความมั่นคงทางอาชีพ: ต่อยอดนวัตกรรม สร้างโอกาสพัฒนาอาชีพชุมชน
กรอบการดำเนินงานสร้างคุณค่าสู่สังคมกลุ่ม CKPower
บริษัทให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชนและสังคมในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสครอบคลุมชุมชนในทุกพื้นที่การดำเนินงาน ตั้งแต่ก่อนเข้าดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า และในช่วงดำเนินการผลิตไฟฟ้า โดยบริษัทได้มีการลงพื้นที่เพื่อดำเนินการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ตามวิถีดั้งเดิมและ คุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าทั้งในมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมสังคม และสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการสำรวจความคิดเห็นของชุมชนทั้งปัญหาความต้องการ ความพึงพอใจ และการร่วมระบุประเด็นผลกระทบร่วมกับชุมชนในการริเริ่มกิจกรรม/โครงการเพื่อสังคมต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า การเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การสนับสนุนการศึกษา การพัฒนาอาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม และการสนับสนุนสาธารณประโยชน์และสาธารณสมบัติ เป็นต้น เพื่อตอบสนองความคาดหวังและข้อกังวลของชุมชนที่จะสามารถดำเนินการบูรณาการให้สอดคล้องกับขีดความสามารถด้านวิศวกรรมพลังงานสะอาดสู่การสร้างคุณค่าทางสังคม ผ่านหลักการสำคัญ 3 C
ด้วยหลักการ 3 C นี้ บริษัทได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยตระหนักถึงความสอดคล้องกับวิถีชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้กลยุทธ์ “เติม-ต่อ-ร่วม -สร้าง” กล่าวคือ “เติม” หมายถึงการที่ CKPower ได้ใช้ขีดความสามารถมาเติมเต็มชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้เสีย “ต่อ” คือการนำแนวคิดนวัตกรรม กระบวนการมาพัฒนาต่อยอดสู่ความยั่งยืน และ “ร่วม” คือการมีส่วนร่วม ของพนักงานกับผู้มีส่วนได้เสีย นำมาสู่การ “สร้าง” คือสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยบริษัทมีการตั้งเป้าหมายเพื่อชี้วัดความสำเร็จทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการดูแลชุมชนและสังคมทั้งระยะสั้นและระยะยาว
กระบวนการรับฟังข้อร้องเรียนจากชุมชน
บริษัทได้มีการจัดทำกระบวนการรับฟังข้อร้องเรียนจากชุมชนซึ่งจะถูกตรวจสอบบันทึกและได้รับการตอบสนองโดยอย่างทันท่วงทีตามมาตรฐาน ISO14001 และลงพื้นที่ชุมชนในการสำรวจ สานเสวนาร่วมกับชุมชนเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำความเห็นของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดโครงการที่สอดคล้องตามความต้องการและกรอบการดำเนินงานของบริษัทร่วมกัน และสอบถามประเด็นด้านข้อร้องเรียนต่างๆ และแนวทางการแก้ไขปัญหามีอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน ในปี 2566 การลงพื้นที่ชุมชนไม่พบข้อร้องเรียนในประเด็นด้านการย้ายถิ่นฐาน/การละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อย หรือประเด็นด้านสังคมและสิทธิมนุษยชน ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม และไม่มีกรณีข้อร้องเรียนที่ยังไม่ถูกจัดการ
เป้าหมายระยะยาว | เป้าหมายปี 2566 | ผลการดำเนินการปี 2566 |
---|---|---|
95%
ของชุมชนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเพื่อชุมชนและสังคม |
>90%
ของชุมชนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเพื่อชุมชนและสังคม |
>95%
ของชุมชนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเพื่อชุมชนและสังคม |
การดำเนินงานด้านการดูแลสังคมและชุมชนในปี 2566
1. โครงการหิ่งห้อย 2566 ปีที่ 8
บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความเอาใจใส่ถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคม ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรให้แข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องผ่าน "โครงการหิ่งห้อย" จากวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารระดับสูงที่มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมการผลิตไฟฟ้าของบุคลากรมาช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2559 ตั้งแต่การลงสำรวจลักษณะพื้นที่ สํารวจความคิดเห็น ข้อกังวล และความต้องการ ศักยภาพของชุมชนก่อนการดำเนินโครงการหิ่งห้อยสู่การร่วมคิด ร่วมดำเนินการระหว่างบริษัทกับชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้โครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ได้แก่ ระบบไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์การสร้างอาคารเรียน ห้องสมุด โรงอาหารภายใต้แนวคิดอาคารประหยัดพลังงานไฟฟ้า การให้ความรู้พร้อมคู่มือการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสม ทั้งในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าและพื้นที่ห่างไกลในประเทศไทยและสปป.ลาว
ในปี 2565 บริษัทได้วางแผนกรอบการดำเนินงานสร้างคุณค่าสู่สังคม เพื่อ ให้โรงไฟฟ้าในเครือร่วมวางแผน ดำเนินโครงการ และตั้งเป้าหมายสู่ทิศทางขององค์กรร่วมกันครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยนำโครงการหิ่งห้อยเข้ามาเป็นโครงการ หลักขับเคลื่อนทางด้านสังคมให้เข้าถึงไฟฟ้าสะอาดและน้ำสะอาดเพื่อเพิ่มการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนครูผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนและเปิดโลกพลังงานหมุนเวียนสู่ชุมชนเพื่อเพิ่มความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนให้แก่ชุมชนนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
บริษัทใช้ความสามารถที่มีของบุคลากรทุกคน ทั้งองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดมาช่วย สร้างคุณค่าสู่ชุมชนและสังคม สำหรับโครงการหิ่งห้อยในปี 2566 จัดขึ้นภายใต้ แนวคิด "พัฒนาสังคมไกล" พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าที่ 3 4 และ 7 โดยบริษัทได้ดำเนินกิจกรรมไฟฟ้า สะอาดในพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีได้แก่ หมู่บ้านกางและหมู่บ้านโพนสีใน สปป.ลาวและโครงการน้ำสะอาดเพื่อชุมชนในพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าบางปะอินโคเจนเนอรชั่นที่ชุมชนคลองพุทรา จังหวัดพระนครศรีอยุรยา และกิจกรรมไฟฟ้าสะอาดในพื้นที่สังคมไกลที่ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านแม่มุใน บมจ.ซีเค พาวเวอร์ อุปถัมภ์ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้คุณครูเด็กและเยาวชนเข้าสู่การใช้พลังงานสะอาดจากโซลาร์ในอนาคต และจัดทำการติดตั้งไฟถนนระบบพลังงานแสงอาทิตย์และติดตั้งโซลาร์สำหรับปั๊มน้ำ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน และสร้างความตระหนักรู้เรื่องพลังงานหมุนเวียน โดยมีผลการดำเนินโครงการและเป้าหมาย ดังนี้
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี: โครงการไฟฟ้าสะอาดเพื่อชุมชน (ไฟถนนโซลาร์เซลล์) ให้กับหมู่บ้านกาง และหมู่บ้านโพนสี ภายใต้หิ่งห้อย
จุดเริ่มต้นจากการสำรวจชุมชน ผ่านการสานเสวนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เป็นโรงไฟฟ้าในเครือบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จํากัด (มหาชน) โดยหมู่บ้านกางและหมู่บ้านโพนสีมีความต้องการไฟส่องถนน เนื่องจากยามวิกาลมีไฟส่องถนนไม่เพียงพอ อีกทั้งเป็นเส้นทางสาธารณะสายหลักในการเดินทางไปเมืองนานและเมืองไซยะบุรี บริษัทจึงได้ดำเนินการผ่านกลยุทธ์ เต็ม-ต่อ-ร่วม-สร้าง โดยมีพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในติดตั้งอุปกรณ์ ระยะทาง 735.5 เมตร จำนวน 17 ชุด และหมู่บ้านโพนสีสี ระยะทาง 709 เมตร จำนวน 17 ชุด พร้อมทั้งให้ความรู้ชุมชนเพื่อให้ทราบถึงความจำเป็นในการใช้พลังงานหมุนเวียนและวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการดูแลอย่างยั่งยืนโดยการให้ชุมชนจัดตั้งกองทุนพลังงานหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาอย่างยั่งยืน
จากการติดตั้งโคมไฟโซลาร์เซลล์ทั้ง 2 หมู่บ้าน สร้างการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนที่จําเป็นต่อชีวิตประจำวัน 5,100 วัตต์ เทียบเท่าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3,722 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เพิ่มการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนที่จําเป็นแก่การดำเนินชีวิตประจำวันของชุมชนลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากประโยชน์จากไฟส่องสว่าง ถนนในยามค่ำคืน โดยมีประชากรทั้งหมด 166 ครัวเรือนได้รับผลประโยชน์
2. โครงการ Waste to value : วัสดุปรับปรุงคุณภาพดินจากเศษอาหารภายใต้ Grow Green
โครงการ Waste to value วัสดุปรับปรุงคุณภาพดินจากเศษอาหาร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนขยะเศษอาหาร มาจัดทำเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน โดยพนักงานได้ทำการรวบรวมเศษขยะจากอาหาร ผสมเข้ากับหัวเชื้อ และส่วนผสมต่างๆ เพื่อพัฒนาได้เป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้เริ่มทำการทดลองปลูกในพื้นที่โรงไฟฟ้าไซยะบุรี เมื่อได้ผลผลิตดีตามเป้าหมายได้ร่วมกับชุมชนโดยทดลองปลูกผักชนิดต่างๆ กับชุมชน 5 ครัวเรือนที่บ้านเนินสว่าง จากการดำเนินการพบว่าได้ผลผลิตดี อีกทั้งวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินได้ผ่านการตรวจสอบจากศูนย์วิจัยดินนครหลวงเวียงจันทน์ พบว่ามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชดีเกินค่ามาตรฐานปุ๋ยหมักอินทรีย์ คุณภาพสูง จึงขยายผลนำวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินจากเศษอาหารแจกจ่ายให้กับหมู่บ้านเนินสว่างภายใต้กลยุทธ์ เติม-ต่อ-ร่วม-สร้าง นำนวัตกรรมองค์ความรู้มาเติมเต็ม ต่อยอด พัฒนา และทดลองวัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน จากเศษอาหาร เพื่อส่งต่อให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินและผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ พร้อมทั้งประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายจากการซื้อวัสดุที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน
3. โครงการ CKPower Sustainable Notebook Case ภายใต้ OPOP (One Power Plant One Product)
โครงการ CKPower Sustainable Notebook Case ดำเนินการในปี 2566 ที่หมู่บ้านนางยาง เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินธุรกิจที่สปป.ลาวควบคู่ไปกับพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน และสังคมด้วยการสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าโดยใช้ผ้าฝ้ายลายไทลื้อที่ทอจากเทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์จากชุมชนหลวงพระบาง ร่วมกับบริษัทที่ให้การส่งเสริมทั้งวัสดุอุปกรณ์เสริมที่ใช้กับกระเป๋า และไอเดียในการออกแบบกระเป๋า จนนำไปสู่การตัดเย็บผลิตภัณฑ์ Notebook Case ผ่านกลยุทธ์ เดิม-ต่อ-ร่วม-สร้าง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน ต่อยอด เพิ่มประสิทธิภาพของอาชีพ สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ ในชุมชน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากผ้าฝ้ายไทลื้อให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด นับเป็นการพัฒนาศักยภาพ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ที่ยั่งยืนของคนในชุมชน
ผลการดำเนินงาน
แกน | รายละเอียด | SDGs | โครงการ ที่ดำเนินการ |
ผลการดำเนินงาน |
---|---|---|---|---|
พลังงานหมุนเวียนเพื่อคุณภาพชีวิต | เพิ่มการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี |
|
โครงการหิ่งห้อย |
|
ปกป้องฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ | การอนุรักษ์ ปกป้อง ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
|
โครงการ Grow Green |
|
นวัตกรรมสร้างโอกาสเพื่อชุมชน | ต่อยอดนวัตกรรมสร้างโอกาสพัฒนาอาชีพชุมชน |
|
โครงการ OPOP (One Power Plant One Product) |
|