ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท ประจำปี 2566

การวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ

ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการทบทวนประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืนโดยการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนในระดับประเทศและสากล รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทจัดทำตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative Standards (GRI) 2021 ซึ่งบริษัทได้จัดทำรายงานความยั่งยืนประจำปีตามมาตรฐานนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตจากการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ รวมทั้งมีการคำนึงถึงผลกระทบขององค์กรต่อภายนอก (inside-out) และผลกระทบของภายนอกต่อองค์กร (outside-in) ซึ่งเป็นการจัดทำประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืนที่เรียกว่า Double Materiality ตาม GRI Standards 2021 นอกจากนี้ ยังเน้นผลกระทบ (Impact) มากขึ้นทางการประเมินผลกระทบด้านความยั่งยืน (Sustainability Impact) ร่วมกับการประเมินผลกระทบทางการเงิน (Financial Impact) รวมไปถึงการพิจารณาความสำคัญต่อการสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และมีการคำนึงถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการวิเคราะห์ผลกระทบร่วมด้วย โดยประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืนในปีนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัท/คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน/ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ซึ่งกระบวนการระบุประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1: การทำความเข้าใจเดียวกัน ประเด็นด้านความยั่งยืนระดับประเทศและระดับโลก อาทิ ดัชนีความยั่งยืน ESG จาก Morgan Stanley Capital International (MSCI) ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Doบริบทของ องค์กรและระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง

บริษัททำการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ได้แก่ ปัจจัยภายใน เช่น กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และบริเวณที่ตั้งของสถานประกอบการผ่านการสำรวจความความคิดเห็นของคณะกรรมการและผู้บริหารจากแบบสำรวจออนไลน์ ปัจจัยภายนอก เช่น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและในอุตสาหกรรม ปัจจัยความเสี่ยงและโอกาสที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในอนาคต รวมถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากลและเหตุการณ์ในอดีต มีการวิเคราะห์กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจควบคู่เพื่อระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับและอาจได้รับผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบโดยตรงและทางอ้อมจากการดำเนินการของบริษัท ซึ่งมีรายละเอียดผลการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าในรายงาน 56-1 one report ส่วนที่ ข้อ 3 หลังจากนั้น บริษัทฯ จึงทำการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของบริษัทซึ่งครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ โดยนำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนในปี 2565 มาทบทวนร่วมกับปัจจัยภายในและภายนอกที่ได้กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ศึกษาและเทียบเคียงประเด็นสำคัญของบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมwn Jones Sustainability Indices: DJSI) และคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) และแนวทางข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact: UNGC) รวมถึง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2: การระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นและมีโอกาสเกิดขึ้นจากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

บริษัททำการระบุผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบทั้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและมีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต (Actual and Potential impact) สำหรับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ พร้อมทั้งพิจารณาผลกระทบจากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนว่าเป็นผลกระทบในระยะสั้นหรือผลกระทบในระยะยาว รวมถึงคำนึงถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท โดยการประเมินผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. ผลกระทบทางด้านการเงิน (Financial impact) หรือ ผลกระทบที่ประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและไม่มีการพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ในรายงานทางการเงิน มีต่อการดำเนินงานของบริษัท
  2. ผลกระทบด้านความยั่งยืน (Sustainability impact) หรือ ผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัทในแต่ประเด็นสำคัญต่างๆที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและผู้คน
ขั้นตอนที่ 3: การยืนยันผลกระทบจากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนกับผู้มีส่วนได้เสียและประเมินผลกระทบ

สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อยืนยันผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน หลังจากนั้น บริษัทกำหนดเกณฑ์การประเมินผลกระทบด้านความยั่งยืนเชิงบวกและลบตามระดับความรุนแรง (Scale) ของเขต (Scope) ความสามารถในการเยียวยาหรือการฟื้นฟู (Remediability) และระดับโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Likelihood) หลังจากนั้นบริษัทกำหนดเกณฑ์การประเมินผลกระทบทางด้านการเงินเชิงบวกและลบตามระดับมูลค่าทางการเงิน (Magnitude) และระดับโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Likelihood) โดยการนำหลักการประเมินความเสี่ยงของบริษัทเข้ากับการประเมินผลกระทบทางด้านการเงิน หลังจากนั้น บริษัททำการประเมินผลกระทบทั้งด้านความยั่งยืนและผลกระทบด้านการเงิน

ขั้นตอนที่ 4: การประเมินและการจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบ

บริษัทจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบและคัดเลือกประเด็นสำคัญ 5 อันดับแรก ซึ่งมีคะแนนระดับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียและบริษัทอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก นอกจากนี้มีการจำแนกประเด็นสำคัญออกเป็น ประเด็นความยั่งยื่นที่มีความสำคัญ (Materiality topic) และประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Business fundamental topic) โดยประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนนั้น ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัท คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และผู้บริหารระดับสูง

ขั้นตอนที่ 5: การรายงาน ทบทวน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บริษัทได้วางแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของประเด็นที่มีความสำคัญด้านความยั่งยืน และประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งในกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญได้ผ่านการนำเสนอผลการพิจารณาต่อคณะกรรมการของบริษัท คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะกรรมการขับเคลื่อนความยั่งยืน และผู้บริหารระดับสูง เพื่อพิจารณาและขอความเห็นชอบในการเปิดเผยข้อมูล โดยบริษัทจัดให้มีการทบทวนกระบวนการ และมีการเปิดเผยข้อมูลในรายงานความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทมีโอกาสได้พิจารณาถึงผลกระทบและแนวทางการจัดการที่เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

ผลการวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท

การวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนทำให้บริษัทสามารถจำแนกประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทออกเป็น ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท ประเด็นความยั่งยื่นที่มีความสำคัญ (Materiality topic) 12 ประเด็น และประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Business fundamental topic) 2 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นความยั่งยืนที่มีความสำคัญ

บริษัทได้มีการจัดความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่มีความสำคัญโดยพิจารณาภายใต้เกณฑ์การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสียสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก รวมถึงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยประเด็นที่บริษัทได้ให้ความสำคัญนั้นเป็นประเด็นที่มีผลกระทบอยู่ในระดับสูงถึงระดับสูงมาก บริษัทจึงได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมาก มีประเด็นความยั่งยื่นที่มีความสำคัญ 12 ประเด็นดังนี้

ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท

ประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท

เป็นประเด็นพื้นฐานที่บริษัทจำเป็นจะต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องตามกฎหมาย มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติทั่วไปทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล หากขาดประเด็นพื้นฐานดังกล่าวไปประเด็นหนึ่งอาจจะทำให้บริษัทไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมิประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสอดคล้องตามตัวชี้วัด เป้าหมาย ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว และกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนและการเติบโตในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน การมุ่งมั่นในการบริหารจัดการประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งและจะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง โดยมีประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท 2 ประเด็นคือ การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าและ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากปี 2565 (13 ประเด็นเมื่อปี 2565) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ประเด็นการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี หรือสถานการณ์ของโลกบริษัทตระหนักถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และได้ประเมินผลกระทบต่อธุรกิจรวมถึงประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและก้าวะวิกฤติ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่างมีระบบรวมถึงมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน บริษัท จึงพิจารณาเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแยก เพื่อที่จะสามารถติดตามและวัดผลการดำเนินงานดังกล่าวได้
  • ประเด็นการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นถึงการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มากยิ่งขึ้น บริษัทจึงนำการดำเนินการด้านการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าผนวกกับประเด็นสำคัญ ด้านความยั่งยืนเรื่องการบริหารจัดการในเรื่องความมั่นคงทางเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนการดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้
  • ประเด็นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากบริษัทมีการดำเนินงานที่ตอบสนองการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล มีการติดตามและวัดผลอยู่อย่างสม่ำเสมอรวมถึงมีการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดบริษัทพิจารณาและเล็งเห็นว่าการบริหารจัดการห่วงใช่อุปทานนั้นมีความเสี่ยงในระดับต่ำจังจัดให้การบริหารจัดการ ห่วงโซ่อุปทานเป็นการดำเนินงานตามปกติของบริษัท และไม่นำมารวมเป็นประเด็นความยั่งยืนที่มีความสำคัญ

ประเด็นความยั่งยืนของบริษัท ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และแนวทางการจัดการ

ในกระบวนการพิจารณาผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม ในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ บริษัทเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของผลกระทบแต่ละด้าน โดยอ้างอิงตามข้อกำหนดและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนสากลอันเป็นที่ยอมรับ จำนวน 24 ประเด็น ดังนั้น การวางแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานใน 13 ประเด็นข้างต้น จะสามารถลดผลกระทบเชิงลบส่งเสริมผลกระทบเชิงบวกต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทได้อีกด้วย

  1. สิทธิในการมีชีวิต (Right to life)
  2. สิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย จะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้ จะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย (Right to liberty and security (including freedom from arbitrary arrest, detention or exile)
  3. สิทธิที่จะไม่ตกเป็นทาสและแรงงานบังคับ / สิทธิที่บุคคลไม่ควรถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส รวมทั้งการบังคับใช้แรงงาน (Right not to be subjected to slavery, servitude or forced labour)
  4. สิทธิที่จะไม่ถูกกระทำการทรมาน การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ ย่ำยีศักดิ์ศรี (Right not to be subjected to torture, cruel, inhuman and/or degrading treatment or punishment)
  5. สิทธิการระลึกถึงตัวตนของบุคคลก่อนการมีกฎหมาย / สิทธิในการได้รับความเท่าเทียมกับบุคคลอื่น และการเคารพความเป็นบุคคลของกันและกัน แม้ปราศจากซึ่งกฎหมายรองรับ (Right to recognition as a person before the law)
  6. สิทธิเท่าเทียมของบุคคลตามกฎหมาย ทั้งด้านการได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ (Right to equality before the law, equal protection of the law, non-discrimination)
  7. สิทธิในการเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิผล (Right to access to effective remedies)
  8. สิทธิการได้รับกระบวนการทางศาลที่เป็นธรรม (Right to a fair trial)
  9. สิทธิในการแต่งงานและสร้างครอบครัว (Right to marry and form a family)
  10. สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน / สิทธิที่จะเป็นเจ้าของสิ่งของและทรัพย์สินของตนเอง และไม่มีใครมีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินของเราไปโดยที่เราไม่อนุญาต (Right to own property)
  11. สิทธิในการมีอิสระทางความคิด และนับถือศาสนา (Right to freedom of thought, conscience and religion)
  12. สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เข้าถึงข้อมูล และแสดงออก / สิทธิในการมีอิสรภาพที่จะพูดหรือแสดงออก ในสิ่งที่คิด และแบ่งปันความเห็นให้คนอื่นได้ทราบ รวมถึงได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง (Right to freedom of opinion, information and expression)
  13. สิทธิในการชุมนุม / สิทธิในการมีเสรีภาพที่จะชุมนุมเพื่อร่วมกันทำงานที่สร้างสรรค์ (Right to freedom of assembly)
  14. สิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม เพื่อปกป้องประโยชน์ของตน (Right to freedom of association)
  15. สิทธิในการมีส่วนร่วมในชีวิตสาธารณะ / กิจกรรมสาธารณะ (Right to participate in public life)
  16. สิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการสังคม เช่น ประกันสังคม (Right to social security, including social insurance)
  17. สิทธิในการทำงาน (Right to work)
  18. สิทธิในการได้รับสภาพเงื่อนไขการทำงานที่เป็นธรรมและน่าพอใจ (Right to enjoy just and favorable conditions of work including rest and leisure)
  19. สิทธิในการก่อตั้ง เข้าร่วมสหภาพแรงงาน และการผนึกกำลังเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการทำงาน (Right to form trade unions and join the trade unions, and the right to strike)
  20. สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และการบริการสาธารณะ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตที่ดี (Right to an adequate standard of living (housing, food, water and sanitation))
  21. สิทธิด้านสุขภาพ (Right to health)
  22. สิทธิด้านการศึกษา (Right to education)
  23. สิทธิในการเข้าร่วมวิถีชีวิตทางวัฒนธรรม ได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาทางวัตถุ และการรักษาสิทธิของผู้ประพันธ์ (Right to take part in cultural life, benefit from scientific progress, material and moral rights of authors and inventors)
  24. สิทธิเสรีภาพในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (Right to self-determination and natural resources)

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) และการเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)

บริษัทขับเคลื่อนการดำเนินงานความยั่งยืน โดยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ในประเด็นที่สอดคล้องกับขีดความสามารถและศักยภาพทางธุรกิจของบริษัท ภายใต้การดำเนินการความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance & Economic) โดยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 13 เป้าหมายจากทั้งหมด 17 เป้าหมายผ่านประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท 8 ข้อ และประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท 5 ข้อ

มิติ SDGs

มิติสิ่งแวดล้อม

มิติสังคม

มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ

การเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT

บริษัทเล็งเห็นความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ในฐานะของบรรษัทพลเมืองที่ดี และมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในแรงผลักดัน ส่งเสริม และสรรสร้างสังคมที่มีความเป็นอยู่ที่ดี บริษัทจึงได้เข้าร่วมข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UN Global Compact) ในฐานะสมาชิก เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทและตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสากล 10 ประการ ภายใต้ความรับผิดชอบพื้นฐานในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจตามหลักการดังกล่าว

การเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT หรือ คลิก

บริษัทได้คำนึงถึงการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) และหลักสากล 10 ประการตามข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT ในการพัฒนากรอบการดำเนินด้านความยั่งยืน “C-K-P” ของบริษัท เพื่อส่งเสริมให้บริษัทมีการดำเนินงานด้านความยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายและข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล