ความท้าทายและโอกาส

บริษัทตระหนักถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนขององค์กร และสังคม โดยยึดมั่นตามหลักการและนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณทางธุรกิจ และแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
ซึ่งในการดำเนินธุรกิจจะต้องมีความสอดคล้องตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และรักษามาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ พร้อมกันนี้ บริษัทได้กำหนดให้มีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อป้องกันหรือลดโอกาสและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยง รวมทั้งส่งผลให้ผู้มีส่วนได้เสียและนักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร

แนวทางการดำเนินงาน

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยมี คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้วยการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Policy) และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Business Code of Conduct) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร รวมถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักเกณฑ์ ASEAN CG Scorecard ใหม่ ของ G20/OECD ที่สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(สำนักงาน ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เริ่มเผยแพร่หลักเกณฑ์ใหม่นี้ให้แก่บริษัทจดทะเบียน เพื่อให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนขององค์กร และมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีการทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทดังกล่าว

กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ

ดูเนื้อหาเพิ่มเติม

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

ดูเนื้อหาเพิ่มเติม

การตั้งเป้าหมาย

เป้าหมายและดัชนีวัดผลการดำเนินงานขององค์กร
หลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี
โครงสร้างการกำกับดูแล

คณะกรรมการบริษัททำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย วิสัยทัศน์ และหลักปฏิบัติของที่ดีขององค์กร ตลอดจนดำเนินงานตามมติประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทรวมถึงมีการถ่วงดุลและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทได้ ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้ โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทจำนวนทั้งหมด 11 ท่านในปี 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท

นอกจากนี้มีกรรมการที่อยู่ระหว่างการสรรหาแทนตำแหน่งที่ว่างลง จำนวน 1 คน โดยมี กรรมการที่มิใช่ผู้บริหารจำนวน 10 คน กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 คน และ กรรมการอิสระตามข้อกําหนดคุณสมบัติกรรมการอิสระ และนิยามกรรมการ อิสระของบริษัท ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย "ตลาดหลักทรัพย์") และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ "สำนักงาน ก.ล.ต.") ว่าด้วยคุณสมบัติของกรรมการอิสระจำนวน 4 คน ซึ่งกรรมการทุกท่านเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ทักษะ และประสบการณ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทได้จัดประชุมคณะกรรมการบริษัทรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง เพื่อสื่อสารประเด็นการดําเนินงานที่สำคัญ โดยสามารถดูรายละเอียดประวัติคณะกรรมการ การเข้าร่วมประชุมและรายละเอียดประเด็นในการกำกับดูแลได้ที่ รายงาน 56-1 one report ประจำปี 2566 หน้า 152-162 และ 184

โครงสร้างการบริหาร

ดูเนื้อหาเพิ่มเติม

ข้อมูลคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร

ดูเนื้อหาเพิ่มเติม

องค์ประกอบของคณะกรรมการ

การจัดโครงสร้างแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทำให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจในการดำเนินงาน และสามารถตรวจสอบได้ระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร

นอกจากนี้ บริษัทกำหนดให้มีการดำเนินการสรรหาคณะกรรมการบริษัทภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติหลากหลาย อาทิ ความรู้ ทักษะด้านวิชาชีพ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนประสบการณที่เป็นประโยชน์ต่อ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทโดยไม่จำกัดอายุ เพศ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา หรือความบกพร่องในสมรรถภาพทางร่างกาย ตลอดจนพิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทมีความเหมาะสม หลากหลาย และสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร พร้อมทั้งสามารถรับมือกับความท้าทายและปัญหาทางธุรกิจตลอดจนมุ่งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

การสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการ

บริษัทกำหนดให้การสรรหากรรมการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมและคุณสมบัติหลากหลาย อาทิ ทักษะด้านวิชาชีพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยไม่จำกัดอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม หรือความแตกต่างอื่น ๆ เนื่องจากบริษัทให้ความสำคัญกับการให้มีส่วนร่วม และการไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้การสรรหากรรมการจะพิจารณาความรู้ความชำนาญของกรรมการจากวุฒิการศึกษา ประวัติการฝึกอบรม รวมถึงประสบการณ์การปฏิบัติงาน และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตาม Board Skills Matrix เพื่อให้มั่นใจว่า คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่หลากหลายสอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรและมุ่งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

รายละเอียด การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

บริษัทมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ และมีนโยบายการกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการบริษัท

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัท

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

การประเมินผลการปฎิบัติงานของกรรมการผู้จัดการและคณะผู้บริหาร

บริษัทประเมินการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการและคณะผู้บริหารเป็นประจำทุกปี โดยใช้ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการประเมินผล ประกอบไปด้วยผลการปฏิบัติงานจากการสร้างการเติบโต โดยให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม และสร้างความยั่งยืนให้กับทุกส่วนของธุรกิจ โดยกำหนดให้มี ผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับค่านิยมของบริษัทซึ่งประเมินจาก โดยค่านิยมหลักทั้ง 5 ประการ (CAWTA)

  1. COACHING AND LEARNING สอนกันเหมือนพี่น้อง
  2. ACCOUNTABILITY ทำให้ดีที่สุดและรับผิดชอบในสิ่งที่ตามมา
  3. WORK ETHICS ถูกต้องมาก่อนถูกใจ
  4. TEAMWORK รวมพลัง 1+1 ต้องได้มากกว่า 2
  5. ADAPTABILITY เปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง
KEY PERFORMANCE กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ
การเติบโตทางธุรกิจ (Growth) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ
การสร้างผลตอบแทน (Profitability) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตในระดับที่สูง
ความยั่งยืน (Sustainability) ขับเคลื่อนความยั่งยืนในการปฏิบัติงานในทุกมิติตามกรอบกลยุทธ์ความยั่งยืน (C-K-P) ให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
  • บริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการ (Managing Director: MD) พนักงานในระดับผู้จัดการ (Management) และพนักงานทั่วไป (Staff) เป็นประจำทุกปี โดยใช้ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการประเมินผล ประกอบไปด้วยผลการปฏิบัติงานจากการสร้างการเติบโต โดยให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม และ สร้างความยั่งยืนให้กับทุกส่วนของธุรกิจ โดยกำหนดให้มีผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับค่านิยมของบริษัทฯ ซึ่งประเมินจาก โดยค่านิยมหลักทั้ง 5 ประการ (CAWTA)
  • บริษัทกำหนดตัวชี้วัดผลปฏิบัติงาน (KPIs) ในระยะสั้น เป็นรายปี ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูง โดยประกอบด้วย
    • ตัวชี้วัดผลปฏิบัติงาน ได้แก่ ตัวชี้วัดผลตอบแทนทางการเงิน (อาทิ รายได้ / EBITDA / ผลกำไรสุทธิ)
    • ตัวชี้วัดประสิทธิภาพทางการเงินที่สัมพันธ์กัน (อาทิ ความพร้อมในการระดมเงินลงทุนจากตลาดทุน การปรับโรงสร้างทางการเงินของบริษัทให้รองรับการดำเนินโครงการใหม่ และการแสวงหาโอกาสในการลงทุนใหม่เพื่อเพิ่มผลประกอบการของบริษัท) และ การดำเนินงานของบริษัทเพื่อบรรลุเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า เป็นต้น
    • ตัวชี้วัดการดำเนินการด้านความยั่งยืน ตามกรอบกลยุทธ์ความยั่งยืน (C-K-P)
      • ด้านสิ่งแวดล้อม (C – Clean Electricity) อาทิ การจัดการพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในองค์กร มุ่งสู่การเป็น Net Zero ภายในปี 2593
      • ด้านสังคม (K – Kind Neighbor) อาทิ กรณีความปลอดภัยในกระบวนการผลิต กรณีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน การสำรวจความพึงพอใจของชุมชนและไม่มีกรณีข้อร้องเรียนที่ไม่ถูกจัดการ
      • ด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (P – Partnership for Life) อาทิ ไม่มีข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต ขยายธุรกิจในประเทศใหม่ภายในภูมิภาคอาเซียน

ความสำเร็จของตัวชี้วัดผลปฏิบัติงานเหล่านี้ สะท้อนถึงค่าตอบแทนสำหรับกรรมการผู้จัดการและคณะผู้บริหาร ซึ่งบริษัทมีความโปร่งใสและกระบวนการที่เหมาะสมในการพิจารณาค่าตอบแทน โดยค่าตอบแทนประกอบด้วย เงินเดือน โบนัส และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ

ทั้งนี้ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเชื่อว่าความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร จึงมีกระบวนการดำเนินงานปรึกษาหารือระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการบรรลุเป้าหมายเป็นองค์กรที่พัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน

โดยในปี 2566 ผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และการประเมินรายบุคคล มีคะแนน เต็มในแต่ละหัวข้อ 4 คะแนน โดยมีรายละเอียดดังนี้

รูปแบบผลการประเมินการปฏิบัติงาน คะแนนที่ได้ในปี 2566
แบบประเมินคณะกรรมการทั้งคณะ 3.76
แบบประเมินกรรมการรายบุคคล (ประเมินตนเองและกรรมการท่านอื่น) 3.93
แบบประเมินคณะกรรมการชุดย่อย (แบบรายคณะ) 3.78
จรรยาบรรณธุรกิจ (Business Code of Conduct)

บริษัทดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Business Code of Conduct) ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยกำหนดให้พนักงานทุกระดับรวมถึงผู้บริหารและกรรมการยึดถือและปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทและบริษัทในเครือยังมีความรับผิดชอบในการเสริมสร้างบรรทัดฐานและวัฒนธรรมในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติตามจรรยาบรรณด้วยความเต็มใจ ยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน และตอบสนองต่อประเด็นต่าง ๆ ตามจรรยาบรรณอย่างต่อเนื่องด้วย โดยบริษัทมีการสื่อสารและเผยแพร่นโยบาย จรรยาบรรณ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท รวมถึง CKPower Mobile Application และ Intranet ของบริษัท เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้แนวปฏิบัติที่ได้มีการกำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจนั้นครอบคลุมถึง การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน การต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และแนวปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมอีกด้วย

นอกจากนี้บริษัทยังมีการจัดอบรมและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ทั้งพนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบัน สำหรับพนักงานปัจจุบัน บริษัทมีการจัดทำวารสารการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Compliance Journal) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจรวมถึงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยมีการสื่อสารให้แก่พนักงานทุกระดับรวมถึงผู้บริหารและกรรมการผ่านทางอีเมล ทั้งยังมีการวัดผลความรู้ความเข้าใจของพนักงานผ่านการตอบคำถามในแต่ละประเด็นอีกด้วย ในปี 2566 ที่ผ่านมาบริษัทได้มีการอบรมพนักงานใหม่ในเรื่องดังกล่าวครบ 100%

จรรยาบรรณธุรกิจ

ดูเนื้อหาเพิ่มเติม

การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

บริษัทและบริษัทในเครือ มุ่งสนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับในองค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดและจรรยาบรรณของบริษัทอีกทั้งส่งเสริมให้คณะกรรมการและผู้บริหารทำหน้าที่เสริมสร้างบรรทัดฐานและวัฒนธรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานภายใต้จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัท และเป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้พนักงานและพนักงานใหม่ของบริษัทและบริษัทในเครือ รับการฝึกอบรมด้านจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และยังเผยแพร่จรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทานได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

พร้อมกันนี้ บริษัทได้กำหนดแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด “ความอดทนต่อการทุจริตเท่ากับศูนย์ (Zero Tolerance)” กำหนดให้บุคลากรของบริษัทและบริษัทในเครือถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รวมถึงบริษัทยังได้ประกาศใช้แนวทางการงดรับและให้ของขวัญพร้อมทั้งสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มให้ตระหนักเข้าใจในหลักการจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย อาทิ เว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ภายในผ่าน Digital signage Intranet และ CKPower Mobile Application ของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทสนับสนุน ส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมอบรมเรื่องการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องการต่อต้านการทุจริตและศึกษาแนวทางในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสื่อสารและแบ่งปันความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับพนักงานในองค์กร

ผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลในปี 2566

แนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น

ดูเนื้อหาเพิ่มเติม

การใช้ข้อมูลภายใน การคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารของกลุ่มบริษัท
จัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบการทุจริตและคอร์รัปชั่น
กำหนดช่องทางการแจ้งเบาะแสและมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower)
กำหนดนโยบายป้องกันการทุจริตจากภายนอกองค์กร
กำหนดความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชั่นในแผนการบริหารความเสี่ยงของบริษัท

บริษัทจัดตั้งคณะทำงานด้านการบริหารความเสี่ยงทั้งในบริษัทและบริษัทในเครือ เพื่อทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทและบริษัทในเครือมีแนวทางการบริหารความเสี่ยงในแนวทางเดียวกัน ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชั่นด้วย ซึ่งคณะทำงานด้านการบริหารความเสี่ยงจะมีการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชั่นผ่านการดำเนินงานของแต่ละโรงไฟฟ้าและการดำเนินงานในส่วนของ Shared Service Center เป็นรายไตรมาส และจะมีการรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ในรายงานการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการต่อคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นการรายงานตามรอบระยะเวลารายปี หรือตามความเหมาะสม

การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและกรณีทุจริต

บริษัทได้จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistleblower) ถึงการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การกระทำผิดกฎหมาย พฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริต หรือประพฤติมิชอบของบุคลากรของบริษัทและบริษัทย่อย รวมถึงความบกพร่องของระบบควบคุมภายในทั้งจากพนักงานและมีผู้ส่วนได้เสียอื่น รวมทั้งมีกลไกในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส โดยการกำหนดแนวทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน ดังนี้

    1. ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน (Whistleblower Channel): บริษัทจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนไปยังระดับผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท 3 ช่องทาง ดังนี้
      เลขานุการบริษัท ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทโดยตรงที่หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ www.ckpower.co.th/th/investor-relations/ir-home
      ผ่านทาง E-mail ถึงกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทโดยตรงที่ directors@ckpower.co.th หรือหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ที่ ir@ckpower.co.th
      แจ้งทางจดหมายปิดผนึก โดยส่งถึง ประธานกรรมการตรวจสอบบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) เลขที 587 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    2. การดำเนินการ: ผู้บริหารและ/หรือคณะกรรมการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อรวบรวมรายละเอียด พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและกำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการในแต่ละเรื่อง
    3. การรายงานผล: เลขานุการบริษัท ผู้บริหาร หรือกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบและรายงานผู้มีส่วนได้เสียต่อไป

บริษัทมีการกำหนดมาตรการคุ้มครองนโยบายเก็บข้อมูลข้อร้องเรียนเป็นความลับ โดยมีรายละเอียดปรากฏตามแนวปฏิบัติด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียซึ่งเปิดเผยบนเว็บไซต์ของบริษัท และช่องทางการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดไว้บนเว็บไซต์บริษัท ซึ่งข้อมูลร้องเรียนและแจ้งเบาะแสบริษัทจะมีการจำกัดกลุ่มผู้รับทราบข้อมูลและเปิดเผยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อสร้างความมั่นใจและความรู้สึกปลอดภัยให้แก่ผู้ร้องเรียน

มาตรการป้องกันการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจ

นอกจากการที่บริษัทมีการสื่อสารจรรยาบรรณและทำความเข้าใจกับพนักงาน ผู้บริหาร และกรรมการ อย่างต่อเนื่องผ่าน Compliance Journal ที่ส่งทาง Email และเผยแพร่ผ่านระบบ Intranet ยังมีการจัดทำแบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในวารสารเพื่อให้มั่นใจว่าทุกท่านรับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณของบริษัท และลดโอกาสการเกิดการละเมิดจรรยาบรรณดังกล่าว ทั้งยังมีการกำหนดบทลงโทษหากพบการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ

กำหนดหัวข้อการสื่อสารในวารสารแต่ละไตรมาส
การสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรครบทุกช่องทางต่างๆ ได้แก่ ผ่านจอ Digital Signage ประจำทุกอาคารสำนักงานและที่โรงไฟฟ้าทั้ง 5 แห่ง กว่า 26 จุด E-mail Intranet และ CKPower Mobile Application
การร่วมตอบคำถาม
การประเมินร้อยละการเข้าร่วมตอบแบบสอบถาม และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ผ่านเกณฑ์ประเมินที่ระดับคะแนน 80

บริษัทจัดตั้งคณะทำงานด้านการบริหารความเสี่ยงทั้งในบริษัทและบริษัทในเครือ เพื่อทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทและบริษัทในเครือมีแนวทางการบริหารความเสี่ยงในแนวทางเดียวกัน ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชั่นด้วย ซึ่งคณะทำงานด้านการบริหารความเสี่ยงจะมีการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชั่นผ่านการดำเนินงานของแต่ละโรงไฟฟ้าและการดำเนินงานในส่วนของ Shared Service Center เป็นรายไตรมาส และจะมีการรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ในรายงานการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการต่อคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นการรายงานตามรอบระยะเวลารายปี หรือตามความเหมาะสม

การดำเนินงานในแต่ละไตรมาส

1. การดำเนินการ: ผู้บริหารและคณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคณะทำงานเพื่อรวบรวมรายละเอียดพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและกำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการในแต่ละเรื่อง โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะติดตามผลการดำเนินงานและความคืบหน้าเป็นระยะ

2. การรายงานผล: เลขานุการบริษัท ผู้บริหาร หรือกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบและรายงานผู้มีส่วนได้เสียต่อไป

ทั้งนี้ บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครอง นโยบายเก็บข้อมูลข้อร้องเรียนเป็นความลับ โดยมีรายละเอียดปรากฏตามแนวปฎิบัติด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียซึ่งเปิดเผยบนเว็บไซต์ของบริษัท และช่องทางการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดไว้บนเว็บไซต์บริษัท ซึ่งข้อมูลร้องเรียนและแจ้งเบาะแสบริษัทจะมีการจำกัดกลุ่มผู้รับทราบข้อมูลและเปิดเผยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อสร้างความมั่นใจและความรู้สึกปลอดภัยให้แก่ผู้ร้องเรียน

การอบรม/การสื่อสารเรื่องการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณ

บริษัทสื่อสารเรื่องหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณ ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานได้ยืดถือเป็นแนวทางเดียวกัน ในรูปแบบวารสาร (compliance journal) มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความรู้ความเข้าใจในรูปแบบเข้าใจง่าย รวมถึงยกตัวอย่างกรณีสำคัญๆ ตัวอย่างของเหตุการณ์ และสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในกรณีที่มีการปฎิบัติไม่สอดคล้องกับเรื่องดังกล่าว โดยจะสื่อสารวารสารดังกล่าวผ่านช่องทาง E-mail และ/หรือ Intranet ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนในบริษัท รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจทั้งก่อนและหลังจากที่ได้รับการสื่อสาร Compliance Journal แต่ละฉบับ

ในปี 2566 บริษัทได้จัดทำ Compliance Journal ทั้งหมด 4 ฉบับ ดังนี้
Compliance Journal ฉบับที่ 1 เรื่อง ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
Compliance Journal ฉบับที่ 2 เรื่อง หลักเกณฑ์การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล PDPA
Compliance Journal ฉบับที่ 3 เรื่อง จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
Compliance Journal ฉบับที่ 4 เรื่อง ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากการดำเนินงานมาแล้ว 4 ฉบับในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพนักงานและผู้บริหารได้มีการสื่อสารในเรื่องของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีจรรยาบรรณธุรกิจ ดังนี้

ดัชนีชี้วัด เป้าหมาย ปี 2566 ผลการดำเนินงาน
สื่อสารผ่าน Compliance Journal ที่ส่งทาง Email และเผยแพร่ผ่านระบบ Intranet 100% 100%
พนักงานร่วมตอบแบบประเมิน 75% 75%
ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ระดับคะแนน 80 80% 88%

การดำเนินการทางด้านภาษี

เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทในเครือ เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน บริษัทมุ่งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านภาษีให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยการปฏิบัติหน้าที่จ่ายภาษีอย่างถูกต้องและสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชน ภายใต้นโยบายทางด้านภาษีขององค์กร

ดูเนื้อหาเพิ่มเติม