ความท้าทายและโอกาส

ความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของบริษัทและบริษัทในเครือ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมความแข็งแกร่ง มั่นคง และยั่งยืนในธุรกิจการผลิตไฟฟ้าสะอาด โดยเฉพาะภายใต้ความต้องการพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิตพลังงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การแข่งขันสูง ผู้ผลิตที่สามารถรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า สามารถดึงดูดโอกาสและสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงยังส่งผลต่อเนื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ด้วยเหตุนี้นอกเหนือจากการมุ่งเน้นการพัฒนาระบบอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดการดูแลในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแล้วนั้น บริษัทยังต้องมีนโยบายขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางด้านพลังงาน ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน มุ่งเน้นลงทุนในโครงการพลังงานไฟฟ้าสะอาด ราคาถูก เป็นพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะให้ได้มากที่สุด และใช้ทรัพยากรในขั้นตอนการผลิตอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวทางการดำเนินงาน

บริษัทและบริษัทในเครือให้ความสำคัญในโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุน โดยเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้ระบบการจ่ายไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีระบบการบริหารจัดการต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้กับบุคลากรทุกระดับ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยต่อยอดระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันยังช่วยสร้างความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิตไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังบริษัทมุ่งเน้นพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ จัดให้มีระบบการควบคุมการผลิตและจำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้โรงไฟฟ้าของบริษัทได้รับออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีเครื่องมือตรวจวัดตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญตามแผนการติดตามตรวจสอบที่กำหนดรวมถึงการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าตามแผนที่มีการกำหนดช่วงเวลาอย่างชัดเจนตลอดอายุของโรงไฟฟ้า และเพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าจะมีความพร้อมในการเดินเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้มีการบริหารจัดการด้านความพร้อมใช้งานของโรงไฟฟ้า เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยจัดทำแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันรายปี (Annual Preventive Maintenance) เพื่อเป็นการติดตามตรวจสอบตามระยะเวลาที่กำหนด และจัดให้มีการซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งจัดให้มีการสำรองอุปกรณ์ และวัสดุที่จำเป็น รวมทั้งอะไหล่ชิ้นสำคัญ (Critical Spare Part) สำหรับใช้ในการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยบริษัทได้ดำเนินการตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ (International Organization for Standardization: ISO) (ISO 9001:2015)

นอกจากนี้บริษัทและบริษัทในเครือให้ความสำคัญในโรงไฟฟ้าทุกแห่งโดยเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้ระบบการจ่ายไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีระบบการบริหารจัดการต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้กับบุคลากรทุกระดับ

การดำเนินงาน

ความมั่นคงและความพร้อมของระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า

บริษัทตระหนักถึงการสร้างความมั่นคงและความพร้อมของระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้า โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถส่งมอบไฟฟ้าให้กับลูกค้าทุกรายของบริษัทและบริษัทในเครือได้อย่างมีเสถียรภาพ

ในปี 2566 บริษัทมีกำลังการผลิตติดตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 3,633 เมกะวัตต์ ทำให้บริษัทสามารถส่งมอบไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่สะอาด เพิ่มความมั่นคงในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของ บริษัทและตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น จนถึงปี 2566 บริษัทมีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตรวมทั้งสิ้น 10,412,371.50 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีระบบควบคุมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุด ซึ่งโรงไฟฟ้าของบริษัทถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและมีเครื่องมือตรวจวัดตามมาตรฐานสากล ประกอบกับมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญตามแผนการติดตามตรวจสอบที่กำหนด รวมถึงการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าตามแผนที่มีการกำหนดช่วงเวลาอย่างชัดเจนตลอดอายุของโรงไฟฟ้า

กำลังการผลิต

การปรับปรุงประสิทธิภาพและลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต

ในปี 2566 บริษัทค่าเฉลี่ยความพร้อมของระบบจำหน่ายร้อยละ 94 และมีจำนวนระบบไฟฟ้าดับโดยไม่ได้วางแผนเฉลี่ย 1 กรณี โดยเกิดจากเหตุการณ์ High Flow Emergency ที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าจะมีความพร้อมในการเดินเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง บริษัท ได้มีการบริหารจัดการด้านความพร้อมใช้งานของโรงไฟฟ้า เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยจัดทำแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันรายปี (Annual Preventive Maintenance) เพื่อเป็นการติดตามตรวจสอบตามระยะเวลาที่กำหนด และจัดให้มีการซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งจัดให้มีการสำรองอุปกรณ์ และพัสดุที่จำเป็น รวมทั้งอะไหล่ชิ้นสำคัญ (Critical Spare Part) สำหรับใช้ในการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยบริษัทได้ดำเนินการตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ (International Organization for Standardization: ISO) (ISO 9001:2015)

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร ลดการใช้พลังงาน และลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต

ในปี 2566 บริษัทมีการดำเนินการตามแผนการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต ดังต่อไปนี้

*ทั้งนี้โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 ได้มีการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ (Major Overhaul) ตามแผนงานที่ได้มีการระบุไว้ในปี 2566 โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน 18 พฤศจิกายน 2566 และจะเสร็จสิ้นภายใน 14 กุมภาพันธ์ 2567

การบริหารจัดการภาวะวิกฤต

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นมีความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของทุกโรงไฟฟ้า บริษัทได้ประกาศใช้นโยบายการบริหารการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจครอบคลุมทั้งบริษัทและบริษัทในเครือ และยังมีคู่มือแผนฉุกเฉินและทำการอบรมฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินเป็นประจำทุกปี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดคิด ได้แก่ อัคคีภัย อุทกภัย ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การหกรั่วไหลของสารเคมี แผ่นดินไหวและดินถล่ม รวมถึงกรณีโรงไฟฟ้าเกิดความไม่ปลอดภัยต่างๆ โดยบริษัทได้วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกปี แม้ว่าหลังจากที่บริษัทได้ศึกษาความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้วไม่พบความเสี่ยงระดับรุนแรงกับโรงไฟฟ้าทุกโรงในระยะเวลาใกล้ และ ปานกลาง อย่างไรก็ดีบริษัทได้จัดทำแผนบรรเทาผลกระทบเชิงรุกเพื่อรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากการจัดทำแผนบรรเทาผลกระทบ และยังมีระบบสาธารณูปโภคของโรงไฟฟ้าที่สามารถดำเนินการภายใต้สภาวะน้ำท่วมได้ รวมทั้งการติดตามและดูแลความปลอดภัยเชิงรุกด้วยทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง โดยติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดและระบบติดตามแบบเรียลไทม์

บริษัทประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า 3 ประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 3,633 เมกะวัตต์ มีสัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด 3,395 เมกะวัตต์ ทำให้บริษัทสามารถส่งมอบไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่สะอาด เพิ่มความมั่นคงในการผลิตและจำหน่าย ไฟฟ้าของบริษัทและตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น จนถึงปี 2566 บริษัทมีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตรวมทั้งสิ้น 8.7 ล้านเมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าสะอาดอย่างยั่งยืน บริษัทได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามแนวทางดังนี้

ทั้งนี้แผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency response plan) มีขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นระบบและชัดเจนประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

การดำเนินงานหลักในแต่ละโรงไฟฟ้าในปี 2566
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี

โรงไฟฟ้าพลังน้ำมีการติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีการประเมินความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างรัดกุมพร้อมวางแผนการดำเนินการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้นำเทคโนโลยี SCADA มาช่วยในการดำเนินงานติดตามข้อมูลต่างๆ เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าของบริษัทเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บริษัทมีแนวทางในการประเมินและติดตามประสิทธิผลของการดำเนินงาน ผ่านตัวชี้วัดหลัก 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า (Plant performance ratio) และผลการดำเนินงานบำรุงรักษาประจำปีของโรงไฟฟ้า

ในเดือนสิงหาคม 2566 จากปริมาณฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องซึ่งเกิดจากพายุขนุน และการปล่อยน้ำจากเขื่อนเหนือโรงไฟฟ้า ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำนอง (High Flow Emergency) บริเวณโรงไฟฟ้า และบริเวณรอบโรงไฟฟ้า ทางโรงไฟฟ้าได้ใช้แผนตอบโต้สภาวะฉุกเฉิน และจัดการภาวะฉุกเฉินตามแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response Plan) และสามารถดำเนินงานตามแผนงานและจัดการภาวะฉุกเฉินกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ตามปกติภายใน 30 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ยังสามารถช่วยเหลือชาวบ้านในบริเวณโดยรอบให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย ตั้งแต่การแจ้งระดับน้ำคาดการณ์กับทางเมืองต่างๆ รอบโรงไฟฟ้า แจ้งชาวบ้านเรื่องการเตรียมย้ายขึ้นสู่ที่สูง พร้อมทั้งนำเรือและกำลังคนออกไปช่วยเหลือ ซึ่งทั้งหมดได้บริหารจัดการภายใต้โครงสร้างแผนการดำเนินงานที่มีความเป็นระบบชัดเจนและมีทางคณะทำงาน ทีมสื่อสาร การประสานงานที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนพร้อมการเตรียมการซักซ้อมเหตุการณ์แบบเข้มข้นเชิงรุก ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีสามารถกลับมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องภายในระยะเวาอันรวดเร็ว

การประชุมเตรียมแผนงาน การสั่งการโดยผู้จัดการโรงไฟฟ้า
ภายใต้คณะทำงานตามแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
การฝึกซ้อมปฏิบัติงาน
การจัดการตามแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response Plan) ในช่วงเหตุการณ์ High Flow Emergency ในเดือนสิงหาคมของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 มีการดำเนินงานในการบริหารจัดการปริมาณงานน้ำเพื่อให้การผลิตไฟฟ้าของบริษัทเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการตามสัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแผนในการรักษาระดับน้ำไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ในฤดูแล้งของทุกๆ ปี และรักษาระดับน้ำไม่ให้มีการเปิดประตูน้ำล้นในฤดูฝน อีกทั้งดำเนินการตามแผนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ (Major Overhaul) ตั้งแต่เดือน 18 พฤศจิกายน 2566 จนถึง 14 กุมภาพันธ์ 2567 การซ่อมบำรุงครั้งใหญ่เป็นหนึ่งในการจัดเตรียมและตรวจสอบเครื่องจักรต่างๆ ในกระบวนการผลิตให้คงประสิทธิภาพเพื่อสามารถดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามเป้าหมาย และส่งเสริมความมั่นคงเสถียรภาพและความพร้อมของโรงไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง

แผนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ (Major Overhaul) ที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2

โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น

โรงไฟฟ้าบางปะอินโคเจนเนอเรชั่นมีการวางแผนกลยุทธ์ในการติดตั้งระบบ Vacuum Recloser System ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า โดยมีบทบาทสำคัญในการปกป้องโครงข่ายไฟฟ้าจากความเสียหายและสามารถป้องกันสัญญาณขัดข้องจากลูกค้า ไม่ให้กระทบไปยังระบบไฟฟ้าของลูกค้ารายอื่นๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พัฒนาดัชนีค่าเฉลี่ยความถี่ที่เกิดระบบไฟฟ้าขัดข้อง (SAIFI) ช่วยคงเสถียรภาพในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ บางเขนชัย

โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ บางเขนชัย มีการดำเนินการประเมินและติดตามประสิทธิผลของการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ผ่านตัวชี้วัดหลัก 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า (Plant Performance Ratio) และผลการดำเนินงานบำรุงรักษาประจำปีของโรงไฟฟ้า โดยมีการติดตามผลการดำเนินการในแต่ละเดือน เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเพื่อวางแนวทางในการดำเนินการที่สอดคล้อง สร้างเสถียรภาพของการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายและดัชนีวัดผลการดำเนินงานขององค์กร
ผลการดำเนินงาน