การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
ความท้าทาย
ซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนช่วยให้บริษัท สามารถประเมินความสำคัญและเข้าใจถึงมุมมองและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร และนำผลการสำรวจดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานและขับเคลื่อนองค์กร ภายใต้แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการร่วมลงทุนและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจขององค์กรอย่างยั่งยืน
แนวทางการปฎิบัติงาน
แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
ทั้งนี้ในการจัดทำกระบวนคารการมิส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) โดยระบุผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบในมิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ การระบุผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการพิจารณาขอบเขตการมีส่วนร่วมตามปัจจัยในเรื่องของความมีอิทธิพลต่อบริษัทและระดับความพึ่งพากันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียและบริษัท
ขอบเขตผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืน
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ | ขอบเขตผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
ภายใน | ภายนอก | |||||
พนักงาน | ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ลูกค้า | ชุมชน และสังคม | คู่ค้าและผู้รับเหมา | นักลงทุนและผู้ถือหุ้น | |
การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามข้อกำหนด | ||||||
การบริหารจัดการความเสี่ยงและวิกฤติ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล | ||||||
การจัดการนวัตกรรม | ||||||
ความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ | ||||||
ความมั่นคงด้านเสถียรภาพ และความพร้อมของการดำเนินการผลิต | ||||||
การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า | ||||||
การเคารพสิทธิมนุษยชน | ||||||
การดูแลชุมชนและสังคม | ||||||
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน | ||||||
สุขภาวะอาชีวอนามัย และความปลอดภัย | ||||||
การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน | ||||||
การจัดการสิ่งแวดล้อม | ||||||
การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | ||||||
ความหลากหลายทางชีวภาพ |
กลุ่มของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทได้จำแนกผู้มีส่วนได้เสียเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชนและสังคม พนักงาน คู่ค้าและผู้รับเหมา ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละปี หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม จะทำการประเมินบทบาท หน้าที่และความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย และออกแบบวิธีการที่เหมาะสมรวมถึงระดับของการมีส่วนร่วม
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การมีงานที่มั่นคง
- การมีสถิติบันทึกเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี
- การมีค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่สามารถแข่งขันได้
- การมีโอกาสในการเติบโต
- การได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมรายบุคคล
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
- แพลตฟอร์มดิจิทัลของบริษัท ได้แก่ CKPower Mobile Application
- จอประชาสัมพันธ์ Digital Signage
- การประชุม Town Hall ปีละ 1 ครั้ง
- การสำรวจความผูกพันพนักงานต่อองค์กรทุกๆ 2 ปี/ครั้ง
- กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence:HRDD) ดำเนินการทุก 3 ปี/ครั้ง
- ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
- การให้ผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่เป็นธรรม
- การมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
- การมีโอกาสในการเติบโต
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การให้ผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่เหมาะสมโดยการเปรียบเทียบกับบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
- การปรับปรุงระบบดิจิตอลเพื่อความสะดวกของพนักงาน
- การพัฒนาพนักงานทุกคนอย่างต่อเนื่องด้วยงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับในทุกระดับ
- การส่งเสริมมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระดับโลก
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การจ่ายไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ สม่ำเสมอและตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
- การได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุขึ้น
- การอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดความรู้ที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นใน CKPower
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
- การประชุมลูกค้าประจำปี
- แบบสำรวจความพึงพอใจประจำปี
- ศูนย์ติดต่อลูกค้า ติดต่อผ่านเว็บไซต์ของบริษัท
- การฝึกอบรมสำหรับลูกค้า
- ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
- การให้บริการที่มีคุณภาพสูงในปริมาณที่เพียงพอตามที่ตกลงกัน
- การดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์โปร่งใสบนแนวทางแห่งความยั่งยืน
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การรักษาคุณภาพบริการที่ลูกค้าพึงพอใจและพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
- การสำรวจความพึงพอใจเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการภายในเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดียิ่งขึ้น
- การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในปี 2566
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน
- การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทิศทางและการดำเนินธุรกิจของบริษัท
- การมีสิทธิต่าง ๆ ในกรณีที่เป็นผู้ถือหุ้น
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
- การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี (1 ครั้ง)
- การรายงานแบบฟอร์ม 56-1 One Report (1 ครั้ง)
- การจัดทำ Company Snapshot บนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ (4 ครั้ง)
- การประชุมร่วมกับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุน (Analyst Meeting) (4 ครั้ง)
- กิจกรรม Opportunities Day ของตลาดหลักทรัพย์ (1 ครั้ง)
- ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
- การประชุมอื่น ๆ
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
- ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
- ความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎของตลาดหลักทรัพย์และเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล
- การปฏิบัติต่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
- การขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืนและจัดหางบลงทุนในโครงการใหม่ โดยยังสามารถรักษาความมั่นคงทางการเงินและสร้างผลกำไรที่ดี
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการสื่อสารและการดำเนินงานอย่างยั่งยืน
- การเปิดเผยข้อมูลตามแนวปฏิบัติที่เป็นสากลและถูกต้องตามกฎระเบียบ
- การดำเนินกิจกรรมและจัดให้มีการประชุมเพื่อสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงความคิดเห็นโดยตรงกับบริษัทได้
- การแสวงหาและร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายโอกาสในการลงทุน และสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในส่วนของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ปี 2566
บริษัทได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนที่สนใจได้รับข้อมูลที่เพิ่มความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และใช้ในการประกอบการวิเคราะห์ และการตัดสินใจลงทุน อันจะส่งผลให้มูลค่าของหลักทรัพย์ของบริษัทสะท้อนมูลค่าที่เหมาะสม (Fair Value) มากยิ่งขึ้น
1) การประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายไตรมาส (Quarterly Analyst Meeting)
บริษัทได้จัดการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายไตรมาสเพื่อให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุนได้รับทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานในแต่ละไตรมาสเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และรับทราบกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท รวมถึงเปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุนได้สอบถามประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัยกับบริษัทได้โดยตรง ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างบริษัทและกลุ่มนักลงทุน โดยบริษัทได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์จากการประชุมเพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาธุรกิจของบริษัทต่อไป ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้งมีการลงทะเบียน เพื่อรวบรวมจำนวนของผู้ที่เข้าร่วมการประชุม และมีการประเมินความพึงพอใจในการประชุมแต่ละครั้งเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการประชุมในครั้งต่อไป
โดยในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการจัดประชุมรวม 4 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมการประชุมเฉลี่ยครั้งละ 21 คน ผลการประเมินความพึงพอใจในการประชุมแต่ละครั้งแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจเฉลี่ยร้อยละ 93 และมีความเข้าใจในภาพรวมธุรกิจของบริษัทเพิ่มขึ้น
2) บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (SET Opportunity Day)
บริษัทได้เข้าร่วมกิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (SET Opportunity Day) ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนรายย่อย และผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อให้ได้รับทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงาน และรับทราบกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนที่สนใจได้สอบถามประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัยกับบริษัทได้โดยตรง
3) การประชุม Company Visit / One-on-one Meeting
บริษัทได้เปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุนทั้งในและต่างประเทศ สามารถนัดประชุมกับผู้บริหารของบริษัทเพื่อสอบถามเกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินธุรกิจ รวมถึงประเด็นที่เป็นข้อสงสัยเกี่ยวกับบริษัทในรายละเอียดได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงาน กลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท และข้อมูลอื่น ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยบริษัทได้ดำเนินการจัดประชุมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มเป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะไม่รับนัดในช่วงเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดเผยงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Silent Period) เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับกิจการที่ดี โดยในปี 2566 บริษัทจัดการประชุม Company Visit / One-on-one Meeting จำนวน 3 ครั้ง
4) การประชุม Non-deal Roadshow
บริษัทได้เข้าร่วมงาน Roadshow ที่จัดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการพบปะระหว่างผู้จัดการกองทุนทั้งในและต่างประเทศและผู้บริหารของบริษัท นำไปสู่การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในภาพรวม ทำให้ผู้ลงทุน ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์ ได้รับทราบถึงกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตของบริษัทจากผู้บริหาร และเป็นช่องทางในการสอบถามประเด็นที่เป็นข้อสงสัยต่าง ๆ โดยการประชุมจะมีทั้งแบบ One-on-one Meeting และ One-on-group Meeting และมีการดำเนินการจัดประชุมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการกองทุน โดยบริษัทได้เข้าร่วมการประชุม Non-deal Roadshow ในปี 2566 จำนวน 7 ครั้ง
5) การเข้าร่วมกิจกรรม SET Digital Roadshow
บริษัทได้เข้าร่วมกิจกรรม SET Digital Roadshow ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นช่องทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพัฒนาขึ้นในรูปแบบ Live Broadcast เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถนำเสนอข้อมูล ผลการดำเนินงาน และศักยภาพการเติบโตของบริษัทให้แก่ผู้ลงทุนทั่วโลก เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มผู้ลงทุนได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
6) การตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตทางโทรศัพท์และอีเมล
ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และตอบข้อซักถามกับนักลงทุนและผู้ถือหุ้นผ่านช่องทางโทรศัพท์และอีเมลล์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลการดำเนินงานของบริษัทได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้า
- การลดผลกระทบจากธุรกิจที่อาจมีต่อชุมชนและสังคม
- การดำเนินงานที่ไม่มีการละเมิดกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
- การสำรวจความต้องการชุมชนและเยี่ยมชุมชน
- กิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ (CSR)
- การเข้าร่วมเครือข่ายภาครัฐ
- กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence:HRDD) ดำเนินการทุก 3 ปี/ครั้ง
- ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
- การดำเนินที่เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- การบรรเทาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากการดำเนินงานของบริษัท
- เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชน
- ความร่วมมือที่ดีระหว่างชุมชนกับบริษัท
- ขั้นตอนการจัดการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจมีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- การแต่งตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะ
- การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
- การควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าที่กฎหมายกำหนด
- การติดตามข่าวสารจากสื่อและนำมาพิจารณาในระหว่างการวางแผน
- การสื่อสารกับข้อเท็จจริงและข้อมูลที่อัพเดตอย่างสม่ำเสมอ
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในปี 2566
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ความไว้วางใจในผลประโยชน์ซึ่งกันและกันด้วยความซื่อสัตย์
- ความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยจรรยาบรรณคู่ค้า
- จรรยาบรรณคู่ค้า
- การแบ่งปันความรู้และการถ่ายโอนผลิตภัณฑ์และบริการ
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
- กระบวนการขึ้นรายชื่อผู้ขาย
- การสำรวจความพึงพอใจ
- การวิเคราะห์การประชุมทุกไตรมาส
- กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence:HRDD) ดำเนินการทุก 3 ปี/ครั้ง
- ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
- การจัดหาซื้อและจัดหาที่โปร่งใสและยุติธรรม
- การชำระเงินที่ตรงเวลาและเชื่อถือได้
- มีระบบการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล
- โอกาสในการพัฒนาและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การกำหนดจรรยาบรรณของคู่ค้าโดยเน้นที่มิติ ESG ร่วมกับการตรวจประเมินประเด็นด้าน ESG
- การรักษาระดับความไว้วางใจในกระบวนการจัดซื้อด้วยความโปร่งใสให้อยู่ในระดับสูงเสมอ
- การกำหนดขั้นตอนการชำระเงินเพื่อความสะดวกในการชำระเงินที่ตรงเวลา
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในปี 2566
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างครบถ้วน
- การเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน
- การมีความสัมพันธ์ที่ดี
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
- ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายรวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลของบริษัท
- ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
- การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมความยั่งยืนโดยภาพรวม
- ควบคุมการดำเนินงานของบริษัทเพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- การมีส่วนร่วมในโปรแกรม / กิจกรรม / การแบ่งปันความรู้ที่เกี่ยวข้อง
- การขับเคลื่อนองค์กรตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตอบสนองนโยบายของภาครัฐ
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
- การมีส่วนร่วมในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับความยั่งยืน
- การเสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์กับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหมด
ห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท
บริษัทมุ่งเสริมสร้างคุณค่าร่วมในการผลิตและจําหน่ายไฟฟ้าที่ตอบสนอง ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า บนพื้นฐานของ การค้ากับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนการบริหารจัดการคู่ค้าให้มีความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์และเสริมสร้าง คุณค่าร่วมให้ทุกบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อการดําเนิน ธุรกิจให้น้อยที่สุดในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของบริษัท ประกอบด้วย
1) การจัดการและขนส่งวัตถุดิบ
แหล่งพลังงานที่สําคัญในการผลิตไฟฟ้าของบริษัท ประกอบด้วย น้ํา แสงอาทิตย์ และก๊าซธรรมชาติ โดยโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น ที่ไม่ได้ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งกําเนิดไฟฟ้า จะต้องรับก๊าซธรรมชาติ และน้ําประปาเป็นวัตถุดิบและแหล่งพลังงานจากคู่ค้า ซึ่งจะต้องมีการจัดการ และขนส่งก๊าซธรรมชาติและน้ําประปาผ่านระบบท่อโดยทั้งบริษัทและคู่ค้า ได้มีระบบการตรวจสอบการรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติและน้ําประปา เพื่อให้ เป็นไปตามสัญญาการซื้อขาย และระบบความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
2) การผลิตไฟฟ้า
ปัจจุบันบริษัทลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตและจําหน่ายไฟฟ้า ในโรงไฟฟ้า 3 ประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ํา โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ซึ่งมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งในประเทศไทย และ สปป.ลาว
3) การจ่ายกระแสไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทมีการผลิต ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ํา มีความจําเป็นที่จะต้องมี ระบบการจัดจําหน่ายที่มีความมั่นคงด้านเสถียรภาพและมีความพร้อม ในการจัดจําหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านสายส่งไฟฟ้า (Transmission Line) โดยมีสถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) เพื่อปรับ แรงดันกระแสไฟฟ้าให้คงที่ก่อนการจ่ายกระแสไฟฟ้าทําให้การส่งไฟฟ้า เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ สําหรับไอน้ําเพื่ออุตสาหกรรมที่บริษัทจัดส่งให้ ลูกค้าของโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น ภายในนิคมอุตสาหกรรม บางปะอิน ส่งผ่านระบบท่อขนส่งที่ต้องได้รับการปรับแรงดันและอุณหภูมิ ตามความต้องการของลูกค้า
4) การส่งมอบ/จําหน่ายกระแสไฟฟ้า
บริษัทส่งมอบ/จําหน่ายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมและหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แห่งประเทศไทย (กฟภ.) และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EdL) ผ่านการทําสัญญา ชื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับลูกค้า 5) กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) การบริหารของบริษัทมีลักษณะเป็นการรวมศูนย์ปฏิบัติการ (Shared Service Center: SSC) เพื่อให้การบริหารมีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้ง องค์กร เพิ่มความสามารถในการควบคุมประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน สามารถรองรับการขยายตัวและการปรับเปลี่ยนของตัวธุรกิจ รวมถึง ลดต้นทุนในการดําเนินการได้เช่นระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการตรวจสอบ ภายใน การบัญชี การจัดการทรัพยากรบุคคล การดูแลจัดการฝึกอบรม และการบริการลูกค้า เป็นต้น
*ไม่มีการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทจากปีก่อน